Categories
Back Issue

I SHOOT FILM / SPECIAL / PART 2

คิดถึงกันมั้ยครับ

ห่างหายกันไปสักพัก ตั้งแต่ฉบับครบรอบ 1 ปี ที่หายไป ก็เพื่อไปรวบรวมข้อมูล และทำเนื้อหาเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม ที่เข้มข้น ถูกต้อง และใช้เวลา เพราะทีมงานทุกคนอยากให้นิตยสารเล่มนี้ มีประโยชน์กับคนที่รักการถ่ายภาพด้วยฟิล์มจริงๆครับ

นั่นหมายความว่า เราอาจจะไม่ได้มีกำหนดการตายตัว เป็นฉบับรายเดือน เหมือนที่เคยทำมา แต่จะเปลี่ยนเป็นฉบับพิเศษ ตามแต่เนื้อหาที่มี ต้องครบถ้วนสมบูรณ์

ซึ่งคราวนี้เราได้จัดทำ I Shoot Film ฉบับพิเศษขึ้นมา 2 เล่ม โดยจะเป็นการทดสอบฟิล์มในสภาพแสง ฉาก และนางแบบ ที่ควบคุมได้ทั้งหมดภายในสตูดิโอ รวมทั้งมีการทดสอบในน้ำยาล้างฟิล์ม ต่างชนิดกันด้วย เพื่อให้เห็นความแตกต่างของฟิล์มแต่ละประเภทอย่างชัดเจนที่สุด

โดยฉบับพิเศษเล่มที่ 1 จะเป็นการทดสอบฟิล์ม 135

และฉบับพิเศษเล่มที่ 2 จะเป็นการทดสอบฟิล์ม 120

หวังว่าจะมีโอกาสได้มาพบกับผู้อ่านทุกท่านบ่อยๆนะครับ … จนกว่าจะพบกันใหม่

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพด้วยฟิล์มครับ

กำพล กิตติพจน์วิไล

Kumpol Kittiphotwilai

editor

#ishootfilmmagazine

ookbee.com

mebmarket.com

hytexts.com

issuu.com

Categories
Article

135 Film Review

เป็นการทดสอบฟิล์ม แบบที่เราพยายาม ลดค่าความผิดพลาด อย่างความต่างของแสง ให้น้อยที่สุดเท่าที่พอจะทำได้ โดยการถ่าย ในสตูดิโอ

Canon EOS 650 + Canon EF 100mm f2.8 L IS MACRO USM

Dev. : Noritsu V30P (Kodak C-41)

Scan : Fuji Frontier SP-500

ปล. ใช้ไฟของ Broncolor แพค Scoro S หัวไฟรุ่น Pulso G เราได้เทสวัดกำลังไฟแล้ว

#ishootfilmmagazine

ฟิล์มทุกตัวได้ล้างพร้อมกันด้วยน้ำยาตัวเดียวกัน (Kodak C-41) พร้อมสแกนเครื่องสแกนเดียวกัน Fuji Frontier SP-500 (การสแกนโดยไม่ปรับแสงแต่อย่างใด)

Film Chemicals Review

ว่าด้วยเรื่องน้ำยา สำหรับล้างฟิล์มสี ซึ่งใช่ว่าน้ำยาจะเหมือนกัน แต่ละตัวก็มีผลต่อโทนสีของฟิล์มเหมือนกันนะครับ และด้วยน้ำยาบางตัวอาทิ เช่น Tetenal, CineStill, DigitalBase, ECN-2 ส่วนมาก จะต้องล้างมือ หรือคือการที่เขย่าแทงค์ ซึ่งบางทีจะมีความต่างอยู่ที่แต่ละคนอาจจะเขย่าไม่เท่ากันครับ

ส่วน Kodak กับ Fuji สามารถล้างได้ทั้งมือและเข้าเครื่อง แต่ส่วนมาก Kodak จะเป็นการล้างเครื่อง น้อยคนที่จะล้างในแทงค์ และส่วน Fuji อาจจะมีบางร้านหรือที่ต่างประเทศก็จะใช้น้ำยา Fuji ลงในเครื่องแทนน้ำยาของKodakครับ

ฟิล์มทุกตัวเป็นยี่ห้อเดียวกันคือ Fuji Industrial 100 หรือ ที่เรียกกันว่า Fuji Japan 100 ถ่ายกล้องบอดี้และเลนส์ตัวเดียวกัน คือCanon EOS 650 และ EF100mm f/2.8 Macro USM เป็นการถ่ายในสตูดิโอ เช็ตฉาก จัดไฟ เพราะต้องการหลีกเลี่ยงค่าแสงที่อาจจะไม่คงที่เช่นเมฆบัง ฝนตก แดดออก จะได้สภาพแสงจากค่า K เดียวกัน แต่การล้างเราจะทำการล้างด้วยน้ำยาที่แตกต่างกันถึง 6ชนิด ได้แก่

  • Kodak C-41
  • Fuji C-41
  • Kodak ECN-2
  • Digibase C41
  • CineStill Cs41
  • Tetenal C-41

ฟิล์มได้ทำการสแกนด้วยเครื่องสแกนเดียวกัน Fuji Frontier SP-500 โดยไม่มีการปรับแสงสีแต่อย่างใดครับ

อันนี้เป็นการทดลองเล่นสนุกๆ นะครับ ด้วยความอยากรู้ส่วนตัว >/\< ไม่ใช่ค่ากลาง ก็อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เพราะยังมีเรื่องความต่างนี่ห้อของเครื่องสแกน อีกทั้งสภาพส่วนมากจะเป็นเครื่องเก่า มือสอง ความเสื่อมอาจจะไม่เท่ากัน และเงื่อนไขอื่น อย่างเช่นคนคุมเครื่อง ถ้าข้อมูลต่างๆ มีข้อผิดพลาดประการใด ก็กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ และหากมีใครต้องการติ หรือเสนอแนะอะไร จะขอบคุณมากๆ ครับ

Categories
Article

Film Tips #13 : วิธีเตือนความจำว่าในกล้องเป็นฟิล์มอะไร

สำหรับหลายคน น่าจะเป็นกันบ่อย เวลาใส่ฟิล์มไว้ในกล้อง แบบหนึ่งม้วน ถ่าย3-4เดือน หรือ นานกว่านั้น นานจนลืมว่าในกล้องเป็นฟิล์มอะไร ก็น่าจะเป็นเหมือนกันใช่มั้ยครับ เพราะกล้องฟิล์มบางตัว ฝาหลังกล้องจะไม่มีกระจกเล็กๆที่ให้เราดูว่าเป็นฟิล์มอะไร ซึ่งถ้าผ่านไปหลายเดือน เชื่อได้เลย ลืมกันทุกคน วีนนี้เลยอยากมาแนะนำ2-3วิธี ในการเตือนว่ากล้องตัวนี้เราใส่ฟิล์มอะไร วิธีแรก ฉีกส่วนหัวของกล่องฟิล์มแล้วเสียบไว้ที่หลังฝาปิด ซึ่งกล้องบางตัวจะมีช่องให้เสียบ แต่สำหรับกล้องบางตัวที่ไม่มี อาทิเช่น กล้องcompact ก็อาจจะแปะเทปใสติดไว้แทนครับ วิธีที่สอง แนะนำถ่ายกลักฟิล์มในกล้องไว้ดูจากมือถือ ประมาณก็เหมือนถ่ายรูปเลขเสาในตึกจอดรรถนั้นแหละ เพราะบางห้าง ที่จอดรถอย่างกะเขาวงกต 55555 หรืออีกวิธีนึง จะคล้ายวิธีแรก หรือ กรณีซื้อฟิล์มแล้วไม่มีกล่องมาด้วย เช่นพวก kodak pro image 100, kodak portra 160/400 หรือ lomo100-800 ที่ขายเป็นกล่องนึงมี3-5ม้วน แล้วถ้าซื้อทีละม้วน ก็จะได้แค่ กลักใส่ฟิล์มมา แนะนำให้แปะเทปย่นแล้วเอาปากกาเมจิกเขียนไว้ที่ฝาหลังกล้องเลย ตั้งแต่ตอนใส่ฟิล์มครับ

Categories
Interview

Interview : Pam

ชื่อ : สิริจารีย์ ตระกูลทอง ชื่อเล่น : แปม

IG : https://www.instagram.com/pamsrjr/

เริ่มถ่ายฟิล์มมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

ตั้งแต่ประมาณปี 2017 ค่ะ

ทำไมถึงชื่นชอบการถ่ายรูปกล้องฟิล์ม ?

รู้สึกว่าภาพที่ออกมามันมีสเน่ห์มากกว่าการถ่ายจากโทรศัพท์หรือกล้องดิจิตอล สีจากฟิล์มเป็นสีที่ไม่ว่าจะเอารูปปกติไปแต่งยังไงก็ไม่เหมือนถ่ายจากกล้องฟิล์ม ชอบโทนสีและความเกรนมากๆค่ะ แล้วก็ชอบการลุ้นว่ารูปจะออกมาดีตามที่เราคิดไหม ใจเต้นทุกครั้งที่ร้านล้างฟิล์มส่งอีเมลรูปมาให้

กล้องประจำตัว ?

Olympus mju II zoom 80 เป็นกล้องของคุณแม่ตอนคุณแม่สาวๆค่ะ เบา พกสะดวก ถ่ายง่ายมากๆ และรูปก็ออกมาคมสวยด้วยค่ะ

ฟิล์มที่เลือกใช้บ่อย?

Ektar 100 / Yashica 400 / Fuji c200 ค่ะ

ชอบถ่ายรูปประเภทไหน?

จริงๆก็ชอบ snap ไปเรื่อยเลยค่ะ ทั้งคนและวิว ชอบเก็บโมเม้นต่างๆ

ประสบการณ์สนุกๆจากการถ่ายฟิล์ม ?

เคยถ่ายฟิล์มม้วนนึงไปในวันสำคัญ แล้วเอาไปล้าง ปรากฏว่าเครื่องล้างร้านเค้าพัง แล้วรูปเราเลยสีเพี้ยนไปหมดเลย ตอนทางร้านโทรมาบอกครั้งแรกก็รู้สึกตกใจแล้วก็เสียใจ แต่พอมาดูรูปปรากฎว่าก็สีเพี้ยนๆแบบนี้ออกมาสวยมีสเน่ห์เหมือนกัน กลายเป็น1ในม้วนที่ชอบมากๆ เรื่องนี้ทำให้รู้ว่าถ่ายฟิล์มบางทีก็จะเกิดเรื่องคาดการณ์ไม่ได้เอาบ้าง555555 แต่สำหรับแปมนี่คือความสนุกค่ะ ลุ้นๆตลอด

ตัวอย่างรูปที่ถ่ายด้วยกล้องของน้องแปม

Thank you

https://www.instagram.com/betty.outfitters/

Categories
Back Issue

I SHOOT FILM / SPECIAL / PART 1

คิดถึงกันมั้ยครับ

ห่างหายกันไปสักพัก ตั้งแต่ฉบับครบรอบ 1 ปี ที่หายไป ก็เพื่อไปรวบรวมข้อมูล และทำเนื้อหาเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม ที่เข้มข้น ถูกต้อง และใช้เวลา เพราะทีมงานทุกคนอยากให้นิตยสารเล่มนี้ มีประโยชน์กับคนที่รักการถ่ายภาพด้วยฟิล์มจริงๆครับ

นั่นหมายความว่า เราอาจจะไม่ได้มีกำหนดการตายตัว เป็นฉบับรายเดือน เหมือนที่เคยทำมา แต่จะเปลี่ยนเป็นฉบับพิเศษ ตามแต่เนื้อหาที่มี ต้องครบถ้วนสมบูรณ์

ซึ่งคราวนี้เราได้จัดทำ I Shoot Film ฉบับพิเศษขึ้นมา 2 เล่ม โดยจะเป็นการทดสอบฟิล์มในสภาพแสง ฉาก และนางแบบ ที่ควบคุมได้ทั้งหมดภายในสตูดิโอ รวมทั้งมีการทดสอบในน้ำยาล้างฟิล์ม ต่างชนิดกันด้วย เพื่อให้เห็นความแตกต่างของฟิล์มแต่ละประเภทอย่างชัดเจนที่สุด

โดยฉบับพิเศษเล่มที่ 1 จะเป็นการทดสอบฟิล์ม 135

และฉบับพิเศษเล่มที่ 2 จะเป็นการทดสอบฟิล์ม 120

หวังว่าจะมีโอกาสได้มาพบกับผู้อ่านทุกท่านบ่อยๆนะครับ … จนกว่าจะพบกันใหม่

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพด้วยฟิล์มครับ

กำพล กิตติพจน์วิไล

Kumpol Kittiphotwilai

editor

#ishootfilmmagazine

ookbee.com

mebmarket.com

hytexts.com

issuu.com

Categories
Article

Film Tips #12 : DX Code

DX-Coded กับ Non DX-Coded ต่างกันยังไง เมื่อใช้กับกล้องฟิล์ม คำตอบคือ กล้องฟิล์ม (ส่วนใหญ่ที่เป็นระบบ Auto) จะมีขั้วอ่าน DX-Coded เพื่อรับข้อมูลว่า “ฟิล์มที่เรากำลังใช้อยู่ เป็นฟิล์มอะไร” (จำนวนภาพ / ความไวแสง) เมื่อกล้องทราบข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ก็จะปรับระบบต่างๆ ของกล้องเช่น speed / f number ให้เข้ากับฟิล์มของเรา และสถานการณ์ที่กำลังจะถ่ายภาพนั้น

Categories
Article

Film Tips #11 : การเก็บรักษาฟิล์มหลังล้างเสร็จแล้ว

พูดถึงเรื่องเก็บฟิล์ม การเก็บในซองพลาสติกที่ได้มากับร้าน

ถ้าเวลาผ่านไป10ปี ถ้าเราเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องที่ร้อนหรือชื้นเกินไป อาจจะส่งผลให้เนื้อพลาสติกหลอมรวมกับเนื้อฟิล์ม(เนกาทีฟ) และอาจจะทำให้ตัวฟิล์มเป็นรอยคราบต่างๆ เลยอยากจะแนะนำให้หาซองกระดาษไขที่สามารถเก็บฟิล์มเนกาทีฟของเราได้อย่างปลอดภัยเป็นระยะเวลาหลาย10ปีครับ

Categories
Article

Film Tips #10 : ฟิล์มแต่ละชนิด

เปรียบเทียบฟิล์มformat ต่างๆเท่าที่ยังมีฟิล์มผลิตขายอยู่นะครับ ก็จะมีหลักๆ3format ได้แก่ 4×5 inch เรียกว่า Large Format , 120 ( จะมีตั้งแต่ 4.5×6 , 6×6 , 6×7 , 6×9 และ 6×14 cm) จะเรียกว่า Medium Format และฟิล์ม 35mm (35mm x 36mm) จะเรียกว่า 135 Format จะเห็นว่าขนาดของฟิล์ม 4×5 มีพื้นที่ใหญ่กว่า 120 และเช่นดียว 120 ก็จะใหญ่กว่า 135

ไล่จากบนลงมานะครับ ฟิล์มสไลด์ล้างตรงน้ำยาสูตร E6 , ฟิล์มขาวดำ, ฟิล์มสี แล้วก็ฟิล์มหนังล้างสูตรน้ำยา C-41 (Cross Process) และสุดท้าย ฟิล์มหนังล้างสูตรน้ำยา ECN-2 (ล้างตรง)

Categories
Article

Film Tips #9 : การเก็บรักษาฟิล์มที่ยังไม่ได้ถ่าย

การเก็บรักษาฟิล์มอยากให้ใช้ได้นานๆ ต้องเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13องศา หรือ ในตู้เย็นช่องธรรมด

แต่ถ้าจะใช้ภายในไม่กี่วันไม่กี่เดือน ก็ไม่จำเป็นต้องแช่ในตู้เย็นนะครับ

ยกเว้นฟิล์มที่กำลังจะหมดอายุ ถ้ารีบเอาแช่ตู้เย็นไว้ โอกาสที่ฟิล์มนั้นจะยังถ่ายติดชัดสวยเหมือนฟิล์มใหม่ จะมีสูงกว่าครับ แต่ถ้าฟิล์มหมดอายุมาก่อนแล้ว ประมาณว่า คนขายไม่ใช้เก็บในอุณหภูมิที่ต่ำหรือในตู้เย็น ซึ่งพอเราได้มาแล้ว แล้วเอาไปแช่ตู้เย็น อาจจะไม่ค่อยช่วยอะไรมากนักครับ

Categories
Article

Film Tips #8 : เครื่องสแกนกับฟิล์มขาวดำ

เครื่องสแกนของ Fuji Frontier แทบทุกเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น SP-500 , SP-2000 และ SP-3000 เวลาสแกนฟิล์มขาวดำ ไม่ว่าจะฟิล์มขาวดำแบบปกติ หรือ ilford XP2 เป็นฟิล์มขาวดำล้าง Cross Process ด้วยน้ำยาฟิล์มสี C-41 เวลาสแกน รูปจะไม่ดำสนิทครับ เท่าที่ลองดูเทียบดูเองน่ะครับ ซึ่งต้องมาปรับให้ดำสนิทผ่าน Program ต่างๆ เช่น Photoshop/Light room. ยกเว้น เครื่องสแกนของ Norisu เท่าที่ลองมาแล้ว รูปออกมาดูขาวดำ ค่อนข้างดีกว่า เครื่องสแกนของ Fuji Frontier

รูปตัวอย่างสแกนฟิล์มขาวดำกับเครื่อง Fuji Frontier SP-500

รูปตัวอย่างสแกนฟิล์มขาวดำกับเครื่อง Noritsu LS1100