Categories
Interview

Interview : Pam

ชื่อ : สิริจารีย์ ตระกูลทอง ชื่อเล่น : แปม

IG : https://www.instagram.com/pamsrjr/

เริ่มถ่ายฟิล์มมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

ตั้งแต่ประมาณปี 2017 ค่ะ

ทำไมถึงชื่นชอบการถ่ายรูปกล้องฟิล์ม ?

รู้สึกว่าภาพที่ออกมามันมีสเน่ห์มากกว่าการถ่ายจากโทรศัพท์หรือกล้องดิจิตอล สีจากฟิล์มเป็นสีที่ไม่ว่าจะเอารูปปกติไปแต่งยังไงก็ไม่เหมือนถ่ายจากกล้องฟิล์ม ชอบโทนสีและความเกรนมากๆค่ะ แล้วก็ชอบการลุ้นว่ารูปจะออกมาดีตามที่เราคิดไหม ใจเต้นทุกครั้งที่ร้านล้างฟิล์มส่งอีเมลรูปมาให้

กล้องประจำตัว ?

Olympus mju II zoom 80 เป็นกล้องของคุณแม่ตอนคุณแม่สาวๆค่ะ เบา พกสะดวก ถ่ายง่ายมากๆ และรูปก็ออกมาคมสวยด้วยค่ะ

ฟิล์มที่เลือกใช้บ่อย?

Ektar 100 / Yashica 400 / Fuji c200 ค่ะ

ชอบถ่ายรูปประเภทไหน?

จริงๆก็ชอบ snap ไปเรื่อยเลยค่ะ ทั้งคนและวิว ชอบเก็บโมเม้นต่างๆ

ประสบการณ์สนุกๆจากการถ่ายฟิล์ม ?

เคยถ่ายฟิล์มม้วนนึงไปในวันสำคัญ แล้วเอาไปล้าง ปรากฏว่าเครื่องล้างร้านเค้าพัง แล้วรูปเราเลยสีเพี้ยนไปหมดเลย ตอนทางร้านโทรมาบอกครั้งแรกก็รู้สึกตกใจแล้วก็เสียใจ แต่พอมาดูรูปปรากฎว่าก็สีเพี้ยนๆแบบนี้ออกมาสวยมีสเน่ห์เหมือนกัน กลายเป็น1ในม้วนที่ชอบมากๆ เรื่องนี้ทำให้รู้ว่าถ่ายฟิล์มบางทีก็จะเกิดเรื่องคาดการณ์ไม่ได้เอาบ้าง555555 แต่สำหรับแปมนี่คือความสนุกค่ะ ลุ้นๆตลอด

ตัวอย่างรูปที่ถ่ายด้วยกล้องของน้องแปม

Thank you

https://www.instagram.com/betty.outfitters/

Categories
Back Issue

I SHOOT FILM / SPECIAL / PART 1

คิดถึงกันมั้ยครับ

ห่างหายกันไปสักพัก ตั้งแต่ฉบับครบรอบ 1 ปี ที่หายไป ก็เพื่อไปรวบรวมข้อมูล และทำเนื้อหาเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม ที่เข้มข้น ถูกต้อง และใช้เวลา เพราะทีมงานทุกคนอยากให้นิตยสารเล่มนี้ มีประโยชน์กับคนที่รักการถ่ายภาพด้วยฟิล์มจริงๆครับ

นั่นหมายความว่า เราอาจจะไม่ได้มีกำหนดการตายตัว เป็นฉบับรายเดือน เหมือนที่เคยทำมา แต่จะเปลี่ยนเป็นฉบับพิเศษ ตามแต่เนื้อหาที่มี ต้องครบถ้วนสมบูรณ์

ซึ่งคราวนี้เราได้จัดทำ I Shoot Film ฉบับพิเศษขึ้นมา 2 เล่ม โดยจะเป็นการทดสอบฟิล์มในสภาพแสง ฉาก และนางแบบ ที่ควบคุมได้ทั้งหมดภายในสตูดิโอ รวมทั้งมีการทดสอบในน้ำยาล้างฟิล์ม ต่างชนิดกันด้วย เพื่อให้เห็นความแตกต่างของฟิล์มแต่ละประเภทอย่างชัดเจนที่สุด

โดยฉบับพิเศษเล่มที่ 1 จะเป็นการทดสอบฟิล์ม 135

และฉบับพิเศษเล่มที่ 2 จะเป็นการทดสอบฟิล์ม 120

หวังว่าจะมีโอกาสได้มาพบกับผู้อ่านทุกท่านบ่อยๆนะครับ … จนกว่าจะพบกันใหม่

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพด้วยฟิล์มครับ

กำพล กิตติพจน์วิไล

Kumpol Kittiphotwilai

editor

#ishootfilmmagazine

ookbee.com

mebmarket.com

hytexts.com

issuu.com

Categories
Article

Film Tips #12 : DX Code

DX-Coded กับ Non DX-Coded ต่างกันยังไง เมื่อใช้กับกล้องฟิล์ม คำตอบคือ กล้องฟิล์ม (ส่วนใหญ่ที่เป็นระบบ Auto) จะมีขั้วอ่าน DX-Coded เพื่อรับข้อมูลว่า “ฟิล์มที่เรากำลังใช้อยู่ เป็นฟิล์มอะไร” (จำนวนภาพ / ความไวแสง) เมื่อกล้องทราบข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ก็จะปรับระบบต่างๆ ของกล้องเช่น speed / f number ให้เข้ากับฟิล์มของเรา และสถานการณ์ที่กำลังจะถ่ายภาพนั้น

Categories
Article

Film Tips #11 : การเก็บรักษาฟิล์มหลังล้างเสร็จแล้ว

พูดถึงเรื่องเก็บฟิล์ม การเก็บในซองพลาสติกที่ได้มากับร้าน

ถ้าเวลาผ่านไป10ปี ถ้าเราเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องที่ร้อนหรือชื้นเกินไป อาจจะส่งผลให้เนื้อพลาสติกหลอมรวมกับเนื้อฟิล์ม(เนกาทีฟ) และอาจจะทำให้ตัวฟิล์มเป็นรอยคราบต่างๆ เลยอยากจะแนะนำให้หาซองกระดาษไขที่สามารถเก็บฟิล์มเนกาทีฟของเราได้อย่างปลอดภัยเป็นระยะเวลาหลาย10ปีครับ

Categories
Article

Film Tips #10 : ฟิล์มแต่ละชนิด

เปรียบเทียบฟิล์มformat ต่างๆเท่าที่ยังมีฟิล์มผลิตขายอยู่นะครับ ก็จะมีหลักๆ3format ได้แก่ 4×5 inch เรียกว่า Large Format , 120 ( จะมีตั้งแต่ 4.5×6 , 6×6 , 6×7 , 6×9 และ 6×14 cm) จะเรียกว่า Medium Format และฟิล์ม 35mm (35mm x 36mm) จะเรียกว่า 135 Format จะเห็นว่าขนาดของฟิล์ม 4×5 มีพื้นที่ใหญ่กว่า 120 และเช่นดียว 120 ก็จะใหญ่กว่า 135

ไล่จากบนลงมานะครับ ฟิล์มสไลด์ล้างตรงน้ำยาสูตร E6 , ฟิล์มขาวดำ, ฟิล์มสี แล้วก็ฟิล์มหนังล้างสูตรน้ำยา C-41 (Cross Process) และสุดท้าย ฟิล์มหนังล้างสูตรน้ำยา ECN-2 (ล้างตรง)

Categories
Article

Film Tips #9 : การเก็บรักษาฟิล์มที่ยังไม่ได้ถ่าย

การเก็บรักษาฟิล์มอยากให้ใช้ได้นานๆ ต้องเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13องศา หรือ ในตู้เย็นช่องธรรมด

แต่ถ้าจะใช้ภายในไม่กี่วันไม่กี่เดือน ก็ไม่จำเป็นต้องแช่ในตู้เย็นนะครับ

ยกเว้นฟิล์มที่กำลังจะหมดอายุ ถ้ารีบเอาแช่ตู้เย็นไว้ โอกาสที่ฟิล์มนั้นจะยังถ่ายติดชัดสวยเหมือนฟิล์มใหม่ จะมีสูงกว่าครับ แต่ถ้าฟิล์มหมดอายุมาก่อนแล้ว ประมาณว่า คนขายไม่ใช้เก็บในอุณหภูมิที่ต่ำหรือในตู้เย็น ซึ่งพอเราได้มาแล้ว แล้วเอาไปแช่ตู้เย็น อาจจะไม่ค่อยช่วยอะไรมากนักครับ

Categories
Article

Film Tips #8 : เครื่องสแกนกับฟิล์มขาวดำ

เครื่องสแกนของ Fuji Frontier แทบทุกเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น SP-500 , SP-2000 และ SP-3000 เวลาสแกนฟิล์มขาวดำ ไม่ว่าจะฟิล์มขาวดำแบบปกติ หรือ ilford XP2 เป็นฟิล์มขาวดำล้าง Cross Process ด้วยน้ำยาฟิล์มสี C-41 เวลาสแกน รูปจะไม่ดำสนิทครับ เท่าที่ลองดูเทียบดูเองน่ะครับ ซึ่งต้องมาปรับให้ดำสนิทผ่าน Program ต่างๆ เช่น Photoshop/Light room. ยกเว้น เครื่องสแกนของ Norisu เท่าที่ลองมาแล้ว รูปออกมาดูขาวดำ ค่อนข้างดีกว่า เครื่องสแกนของ Fuji Frontier

รูปตัวอย่างสแกนฟิล์มขาวดำกับเครื่อง Fuji Frontier SP-500

รูปตัวอย่างสแกนฟิล์มขาวดำกับเครื่อง Noritsu LS1100

Categories
Article

Film Tips #7 : วิธีดูฟิล์มถ่ายแล้วหรือยังไม่ถ่าย ก่อนส่งล้าง

ถ้าใช้กล้องแบบ โหลดฟิล์ม อัตโนมัติ ค่อนข้างชัวร์ว่ากลักที่ไม่มีหางฟิล์ม คืออันที่ใช้แล้ว แต่ถ้าใช้กล้องแบบกรอเอง (กรณี ชอบกรอให้เหลือหางฟิล์ม ไว้) ลองดูที่ปลายหางฟิล์ม ถ้าไม่มีรอยพับอันนั้นน่าจะยังไม่ใช้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรกรอให้หมดเลยจะปลอดภัยมากกว่านะครับ

Categories
Article

Film Tips #6 : วิธีดูฟิล์มถ่ายติดไม่ติด

สำหรับคนที่พึ่งเริ่มถ่ายรูปฟิล์ม แต่ยัง งงๆ ไม่ค่อยเข้าใจว่า เวลาเราถ่ายรูปแล้วเอาฟิล์มไปล้างออกมา ทำไม บางทีฟิล์มมันใส หรือ ทืบ(สีดำ) มันเกิดจากอะไร ก็จะอธิบายแบบคร่าวๆ ภาษาชาวบ้านๆ ง่ายๆ ไม่มีศัพท์เป็นทางการหรือทฤษฎีอะไรให้ซับซ้อนนะครับ เพราะส่วนตัวเองก็หัวไม่ค่อยดีเหมือนกัน ฮ่าๆๆๆ ฟิล์มที่โดนแสงเวลาล้างออกมาแล้วจะเป็นสีดำ แบบทึบแสงสังเกตุจากส่วนที่เป็นหัวม้วน ฟิล์มที่ถ่ายติดปกติก็จะมีรูปขึ้น ตามรูป แต่ในรูปตัวอย่าง คือฟิล์มไม่เดิน เลยทำให้ฟิล์มถูกถ่ายซ้อนไปซ้อนมา กรณีล้างฟิล์มออกมาแล้วฟิล์มใส แต่ถ้าโค้ดตรงรูหนามเตยช่วงขอบบนกับล่างของฟิล์มขึ้นปกติ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ขั้นตอนการล้างฟิล์ม จะไม่ใช่ความผิดของทางร้านล้างสแกนฟิล์ม ให้สันนิษฐานได้เลยว่า

1.กล้องถ่ายไม่ติด สาเหตุอาจจะมาจาก ม่านซัตเตอร์ หรือ รูรับแสง ในตัวกล้องไม่ทำงาน

2. ลืมเปิดฝาหน้าเลนส์กล้อง แล้วลองเช็กกล้อง หรือ เอาไปให้ร้านซ่อมตรวจดูครับ

Categories
Article

Fim Tips #5 : วิธีล้างฟิล์มขาวดำ

วิธีล้างฟิล์มขาวดำเองแบบบ้านๆ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีดังนี้

1. ชุดน้ำยาล้างฟิล์มขาวดำ ปัจจุบัน เหมือนจะเหลือไม่กี่ยี่ห้อ เช่น Kodak D76, Kodak TMAX , Cinestill Df96 (ซึ่งอันนี้จะเป็น Monobath คือล้างแค่น้ำยาตัวเอง แต่คุณภาพก็ไม่ค่อยจะโอเคสักเท่าไหร่ ข้อดีของตัวนี้คือเร็ว) และ ilford (DDX, ilfosol3)

2. ถุงมืดและที่ดึงฟิล์ม เพื่อดึงฟิล์มออกมาจากกลักและโหลดฟิล์มใส่ในแท้งก์ในถุงมืด เพราะฟิล์มห้ามโดนแสงเลย แสงสลัวๆ ก็ไม่ได้

3. อุปกรณ์แท้งก์ล้างฟิล์ม หลักๆที่คนใช้กันก็จะมี2ยี้ห้อ คือ Paterson และ JOBO แต่ก็มีแบรนด์ใหม่เพิ่มมาอีกเจ้าของ Lab box (ซึ่งตัวนี้ ส่วนตัวก็มีซื้อมาลองใช้แล้ว ถ้าล้างแต่ละครั้งไม่บ่อย แค่ม้วนเดียว นี่แนะนำเลยครับ ล้างง่าย ล้างที่ไหนก็ได้ สะดวก แต่ถ้าล้างหลายๆม้วน ไม่ค่อยแนะนำครับ)

4. ถ้วยตวง หรือ บิกเกอร์ ขนาดสัก 500ml ก็พอกำลังดี เพราะล้างฟิล์ม 1ม้วน และใช้ตัว Lab box จะใช้น้ำยา 250-300ml ห้ามใส่เกิน เพราะมันจะล้นครับ

5. น้ำแข็ง จะต่างกับเล่มที่3 ที่ฟิล์มสีต้องการน้ำอุ่น 39องศา ต้องใช้เครื่องทำน้ำอุ่น (ซู-วี) แต่ของฟิล์มขาวดำจะเป็นน้ำเย็น 20องศา

6. เทอร์โมมิเตอร์ สัก ๅอัน หรือ 4อัน ตามจำนวนน้ำยาเลยก็ดีครับ

7. ฟองน้ำ pva ไว้รูดเช็ดฟิล์ม กับ ตัวหนีบ ไว้ตากแขวนฟิล์ม และ ตู้เสื้อผ้าที่ตากฟิล์มข้างในกันฝุ่น ถ้าไม่ซีเรียสก็ตากในห้องน้ำเลยก็ได้

ขั้นตอนการล้างหลักๆตามนี้

1. Developer น้ำยาสร้างภาพ (อันนี้ แต่ละฟิล์มจะใช้เวลาไม่ค่อยเท่ากัน ให้ดูได้จากด้านในกล่องกระดาษของฟิล์มที่เราซื้อมา)

2. Stop baht (น้ำยาหยุดสร้างภาพ) 1 min.

3. Fixer(น้ำยาคงสภาพ) 5 min.

4. Washaid หรือ Hypo Clearing(น้ำยาขจัดคราบ) 2 min.

5. Final wash(น้ำเปล่า) 10.30 min.

6. Ilfotol (น้ำยาไล่คราบน้ำ) 30 sec. (อันนี้แล้วแต่ใส่ก็ได้ ไม่ใส่ก็ได้ครับ) เทน้ำยาแต่ละอย่างตามอัตราส่วนที่เรากำหนดไว้ ใช้น้ำยา+น้ำเปล่า รวมเป็น 500ml สำหรับล้างฟิล์ม2ม้วน และใช้น้ำยาของ ilford ซึ่งน้ำยาแต่ละตัวก็ผสมไม่เท่ากัน

– Devolop 1+9 = น้ำยา50ml+น้ำเปล่า450ml

– Stop bath 1+19 = น้ำยา25ml+น้ำเปล่า475ml

– Fixer 1+4 = น้ำยา100ml+น้ำเปล่า400ml

– Washaid 1+4 = น้ำยา100ml+น้ำเปล่า400ml

ปล. ปริมาณน้ำยา เวลา อุณหภูมิ, การคน, การเขย่า, ส่งผลต่อภาพบนเนกาทีฟทั้งนั้น เช่น เกรนและคอนทราสต์

ปล2. เวลาในการล้างฟิล์มจะประมาณ ครึ่งชั่วโมง ต่อครั้ง ก็ไม่นานมากครับ ถ้าคล่องแล้วจะรู้สึกชิวมาก ดูหนังฟังเพลงไปด้วยก็ยังได้ครับ