Categories
Article

ILFORD ILFOCOLOR RAPID

พอดี เมื่อต้นเดือนได้เดินทางไปต่างประเทศที่ประเทศใต้หวั่นแล้วตอนแรกเห็นกล้องใช้แล้วทิ้งของ ilford แต่มันเขียนว่าเป็นฟิล์มสี ซื้อมาหนึ่งกล่อง ตอนแรกก็คิดว่าว่า ข้างในคงเป็นฟิล์มสีของฟูจิหรือไม่ก็โกดักแหละมั้ง เพราะตอนนั้นยังไม่คิดว่า ilford จะทำฟิล์มสีออกมา และได้ลองเอามาถ่ายดู ก็คิดว่า ilford ทำฟิล์มเองจริงๆ แต่ก็คิดว่า คงแค่เฉพาะกล้องใช้แล้วทิ้งมั้ง ไม่น่าจะทำเฉพาะฟิล์มออกมา จนเมื่อวันนี้ เห็นข่าวในวงการกล้องฟิล์มลงข่าว และมีรูปเฉพาะแค่ฟิล์มอย่างเดียว ที่เป็นฟิล์มสีตัวใหม่ ของ ilford จริงๆ ลองชมรูปตัวอย่างคร่าวๆได้นะครับ อันนี้ถ่ายเมื่อต้นเดือน ก็ไม่ได้รีวิวอะไร ถ่ายกับไฟสตูดิโอ เพื่อต้องการค่าแสงสีที่นิ่งๆ จะได้เห็นโทนสีที่ชัดเจนว่าเป็นยังไง และสแกนโดยไม่มีการปรับสีแต่อย่างใด จะเป็นค่า default เดิมๆของเครื่องสแกน (ซึ่งเครื่องสแกนเหมือนจะติดเขียวหน่อยๆน่ะครับ)

Shooting Equipment

  • Nikon FM2 + AF NIKKOR 50mm f/1.8D

Scan by Fuji Frontier SP-500

ที่มาข่าว Credit https://www.facebook.com/filmplease

BREAKING: New film “ILFOCOLOR” from IIford

ILFORD just releases ILFOCOLOR COLOR FILM 400 Vintage Tone 35mm.

This new film is not made from motion film and different from the film used in ILFOCOLOR RAPID RETRO.

Coming Soon-First Week In July!

ILFORD เปิดตัวฟิล์มสีใหม่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ตัวแรกที่ปล่อยออกมาให้โทนวินเทจเหมือนฟิล์มยุค 1960 สวยงามมากๆ ครับ

ทางผู้ผลิตแจ้งว่าฟิล์มตัวใหม่นี้ไม่ใช่ฟิล์มหนังและเป็นคนละตัวกับที่ใช้ในกล้องใช้แล้วทิ้ง ILFOCOLOR RAPID RETRO ครับ

ฟิล์มรุ่นใหม่ตัวนี้เตรียมวางจำหน่ายต้นเดือนนี้ครับ และแน่นอนว่า Ilford จะเปิดตัวฟิล์มสีมาเพิ่มอีกหลายตัวครับ ❤️🥰

Categories
Article

New Fuji 200 vs Kodak Gold 200

ฟิล์มถ่ายรูป Kodak Gold 200 เป็นฟิล์มเนกาทีฟ ความเร็วปานกลางของแสงตอนกลางวัน ให้การผสมผสานที่หลากหลายของความอิ่มตัวในสีที่สดใส เม็ดสีละเอียด มีความคมชัดของภาพสูง มีความไวเล็กน้อย ISO 200 เหมาะสำหรับถ่ายทั่วไป กลางวันก็ได้ เย็นๆก็ดี ถูกพัฒนามาอย่างยาวนาน ให้ภาพคมชัดและสีเหมือนจริงมาก

ฟิล์ม Fuji 200 ยังไม่แน่ชัด เพราะมีรายงานมาว่าการผลิตเป็นคนละแบบกับ Fuji C200 แบบดั้งเดิม และโทนสีออกไปเหมือนกับ Kodak Gold 200 ด้วยครับ ทางเราจึงได้ขอลองพิสูจน์แบบชัดๆตรงๆโดยการถ่ายด้วยกล้องและเลนส์ตัวเดียวกันในสภาพแสงเดียวกันเพื่อลดความเสี่ยงในสภาพแสงที่ไม่นิ่งให้น้อยที่สุดและทำการล้างสแกนพร้อมกัน น้ำยาเครื่องล้างและเครื่องสแกนตัวเดียวกัน แบบไม่ปรับแต่งใด เป็นยังไงไปลองชมกันครับ

สืบเนื่องมาจากได้ข่าวมาว่าเหมือนค่ายฟูจิไม่ได้ทำการผลิตฟิล์มเองแล้วสำหรับตัว Fuji 200 ตัวใหม่ เพราะโทนสีมันออกมาเหมือนกับ Kodak Gold 200 ไม่มีผิด ซึ่งเป็นยังไงลองชมดูครับ

Canon EOS 300 + Canon EF 85mm F/1.8 USM

Fuji 200 (New)

Scan by Fuji Frontier SP 500

Canon EOS 300 + Canon EF 85mm F/1.8 USM

Kodak Gold 200

Scan by Fuji Frontier SP 500

สรุปส่วนตัวแบบคร่าวๆนะครับ จากที่ได้ถ่ายเอง ล้างเอง สแกนเอง โดยใช้เลนส์และกล้องบอดี้ตัวเดียวกัน จัดไฟถ่ายแบบที่เราพยายาม ลดค่าความผิดพลาดอย่างความต่างของแสงให้น้อยที่สุดเท่าที่พอจะทำได้ โดยการถ่ายในสตูดิโอ และสแกนเครื่องสแกนถึง2เครื่อง โดยไม่มีการปรับแสงสีแต่อย่างใด เหมือนฟิล์ม Fuji 200 ตัวใหม่ โทนจะออกไปทางอมเหลืองค่อนข้างจะมากกว่า Kodadk Gold 200 ซะด้วยซ้ำครับ เพราะปกติแล้วถ้าเป็นคาแรคเตอร์ของ Fuji C200 โทนจะไม่ติดเหลืองหรืออมเหลืองขนาดนี้ จะค่อนข้างหนักไปทางเขียวซะมากกว่าด้วยซ้ำครับ

Canon EOS 300 + Canon EF 85mm F/1.8 USM

Scan by Fuji Frontier SP 3000

สังเกตุจากเครื่องสแกน Fuji Frontier SP-500 ที่ตัวSensor ของเครื่องสแกนเครื่องนี้จะติดเขียว เวลาสแกน Kodak Gold 200 เหมือนSensor ของเครื่องสแกนยังกลบคาแรคเตอร์ของตัวฟิล์มไปเลย แต่พอสแกนกับตัว Fuji 200 สรุปคือยังอมเหลือง นั้นก็หมายความว่า Fuji 200 ติดโทนเหลืองค่อนข้างเยอะกว่า Kodak Gold 200 ซะด้วยซ้ำครับ

Canon EOS 300 + Canon EF 85mm F/1.8 USM

Scan by Fuji Frontier SP 500

แต่พอมาสแกนอีกเครื่องเป็น Fuji Frontier SP-3000 รูปค่อนข้างจะเหมือนกันมากจริงๆ เพราะตัวSensor ของเครื่อง SP-3000 เท่าที่ใช้งานมาจะไม่มีติดเขียว แต่จะออกไปทางติดแดงหน่อยๆ ซึ่งก็จะเหมือนกันร้านล้างสแกนฟิล์มร้านอื่นๆอีกหลายๆร้าน ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นปกติตามความเก่าของเครื่องสแกนครับ ซึ่งพอได้ดูรูปบอกเลยเหมือนกันมาก แทบจะไม่ต่าง ถ้าไม่บอกคิดว่าน่าจะเป็นตัวเดียวกันซะด้วยซ้ำ

ดังนั้นเดาว่า Fuji น่าจะไม่ได้ทำการผลิตฟิล์มเองแล้ว(มั้ง) โดยน่าจะจ้างทางKodakผลิตให้แทน เพราะจาก Code ที่ตัว Negativeของฟิล์มFuji เองสังเกตุว่า Codeเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นรุ่น C200 และกล่องใหม่ก็ไม่มีคำว่า Cแล้ว เป็น Fuji 200 เฉยๆ

Fuji C200

Fuji 200 (NEW)

Categories
Article

Noritsu VS Fuji Frontier

ส่วนตัวสรุปแบบคร่าวๆนะครับ เครื่องสแกน Noritsu จะได้ไฟล์ที่ขนาดใหญ่กว่าและภาพจะไม่ถูกcrop และภาพจะดูคมกว่า ยิ่งเป็นฟิล์มขาวดำ จะยิ่งออกมาดูดำสนิท ต่างกับ Fuji ที่ภาพจะไม่ดำสนิทเท่าไหร่ แต่ Noritsu ภาพจะดูค่อนข้างออกไปทางดิจิตอล จะไม่เหมือน Fuji ที่ยังคงมีความรู้สึกกลิ่นไอของความเป็นฟิล์มกว่าหน่อยๆครับ .. สุดท้ายแล้วแต่ละคนชื่นชอบและการใช้งานนะครับ

Noritsu LS 600

Fuji Frontier SP-500

Noritsu LS 600

Noritsu HS 1800

Film : ฟิล์มหนัง Kodak IMAX 250D

Len : Carl Zeiss 80/2.8 C Planar Synchro Compur

Camera Body : Hasselblad 500c/m

Fuji Frontier SP-3000

Film : ฟิล์มหนัง Kodak IMAX 250D

Len : Carl Zeiss 80/2.8 C Planar Synchro Compur

Camera Body : Hasselblad 500c/m

Categories
Article

Nikon FM2

กล้อง Nikon FM2 เป็นกล้อง pure mechanic ทำงานได้ โดยไม่ต้องพึ่งระบบไฟฟ้า ถ่านที่ใส่มีไว้สำหรับระบบวัดแสงเท่านั้น เป็นกล้องยี่ห้อแรกๆ ที่ทำความเร็วชัตเตอร์ได้ถึง 1/4000 วินาที ซิงค์แฟลชที่ 1/250 วินาที ตัวนี้ม่านเป็นแบบเรียบ เบา พร้อมใช้งาน

กล้องฟิล์มระบบเป็นกลไกล ที่ดีและทันสมัยที่สุด กล้องที่ถือว่าอยู่ในจุดสูงสุดที่กล้องกลไกลจะทำได้ ในยุคนั้น FM2 ถือว่าเป็นกล้องที่โปรกล้องหลายๆ คนต้องมีใช้ ด้วยความเร็ว Speed Shutter สูงสุดที่ 1/4000 วินาที ที่ไม่มีกล้องกลไกลตัวไหนทำได้ เนื่องจากการออกแบบ ม่านชัตเตอร์ให้เปิดปิดในแนวตั้ง นับว่าเป็น นวัตกรรมใหม่ ที่เป็นต้นฉบับของกล้อง Nikonในปัจจุบันเลยทีเดียว FM2 เป็นกล้องที่ใช้งานที่ หลายๆ คนถามหากัน เป็นกล้องที่ ครบครันไปด้วย Function การใช้งาน ผู้ใช้ทุกคนจะรู้จักเป็นอย่างดี ไม่ว่าความ แข็งแรงทนทาน ความคลาสสิค

AF NIKKOR 50 มม. f/1.8D เป็นเลนส์ไพรม์ที่ใช้งานได้หลากหลายและมีราคาย่อมเยา ให้การแสดงภาพที่เป็นธรรมชาติและความคมชัดที่เหนือชั้น มีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักที่เบามาก โดยมีน้ำหนักเบาเพียงประมาณ 155 กรัม ทำให้เลนส์สะดวกต่อการพกพาสำหรับการถ่ายภาพเกือบทุกโอกาส

Silberra Color 50

CineStill 50D

CHAMELEON 100 (Film Never Die)

KODAK EKTACHROME 100D Color Reversal Film / Eastman 5294 [Develop by C-41 (Cross Process)]

Kodak Pro Image 100

Silberra Color 100

Fujicolor Industrial 100 / Fuji Japan 100

Silberra Color 160

Kodak Portra 160

Film Never Die : Sora 200

(Eastman Kodak 250D VISION3 5207)

Kodak Color Plus 200

Kodak Gold 200

Fuji Premium 400

Kodak Portra 400

VIBE 400

NEVO FILM 400

YAMA 400

Ninoco 400

FOTO FILM 400

NoMad 400

Escula Vintage 400

Escura DragonballZ 400

Showa Camera Film 400 [ESCURA]

Lomography Lomochrome Metropolis XR 100-400

Lomography LomoChrome Purple XR100-400

Lomography Lomochrome Turquoise XR100-400

LomoChrome Color ’92

Shanghai Light 400

Yashica 400

Yashica Golden 80s (400)

WOLFEN COLOR NC400

WOLFEN COLOR NC500 (EI ISO 400)

KODAK VISION3 500T/5219

Film Never Die : Umi 800

Kodak Vision 3 500T [5219]

CineStill 800T

Categories
Article

Konica K-Mini

Compact Camera ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา แล้วแถมยังใช้งานง่ายมาก กดถ่ายอย่างเดียวสไตล์ Point&Shoot ชัดทั้งภาพตั้งแต่ระยะหลัง 1 เมตร โดยประมาณ ไม่มีฟังก์ชันอะไรสักอย่าง บางรุ่นมีแค่ปั้มวันที่ แต่ส่วนมากก็จะปั้มปีได้ถึงแค่ 2018 ซึ่งก็ไม่ค่อยมีประโยช์นเท่าไหร่

สืบเนื่องจาก ด้วยความอยากรู้ ว่าฟิล์มแต่ละฟิล์ม แต่ละยี่ห้อ มันต่างกันยังไง ซึ่งพูดตรงๆ ทุกวันนี้ก็ดูไม่ค่อยจะออกหรอก ดูออกแค่ มันออกไปเหลืองหรือฟ้า ก็แค่นั้น .. รูปไหนใช้ฟิล์มอะไรผมได้เขียนไว้มุมขวาล่างทุกรูปแล้วนะครับ .. จะทะยอยๆ Test อีกเรื่อยๆครับ ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวเองนี่แหละ อยากรู้ 555+ .. เหตุผลที่ใช้กล้อง Konica ตัวนี้ คือส่วนตัวชอบอยู่แล้ว เพราะมันเป็นกล้องที่ ไม่ต้องทำอะไร คือกดอย่างเดียว ><” Flash ออกตามที่กล้องมันวัดค่า Speed Shutter รูรับแสง F Stop ก็ออโต้ล้วนๆ โฟกัสก็ด้วย หลายรูปเลย บทจะให้ชัดตรงนี้ก็ไม่ชัด ดันไปชัดตรงอื่น -..-”

Kodak Pro Image 100

Lomography 100

Fuji Industrial 100 / Fuji Japan 100

Kodak Portra 160

Kodak Gold 200

Kodak Color Plus 200

Fuji X-Tra 400

Kodak Portra 400

Fuji Premium 400

Lomography 400

Kodak Ultramax 400

CineStill 800T

Categories
Article

โหลดฟิล์มขึ้นเครื่อง

ฟิล์มห้ามโหลดในกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ ที่เราโหลดใต้ท้องเครื่องครับ เพราะเครื่อง x-ray ที่สแกนกระเป๋าสำหรับโหลดใต้ท้องเครื่อง มันส่งผลให้ฟิล์มเสียหาย แต่กรณี ใส่ในกระเป๋า แบบ carry on ขึ้นบนเครื่องวางไว้ใต้เบาะหรือบนหัวที่นั่ง เครื่อง x-ray ก่อนขึ้นเครื่อง หลายประเทศยังไม่ทำให้ฟิล์มเสียหาย เท่าที่เคยลองมาแล้วนะ มี1-2รอบ ที่ฟิล์มถ่ายมาเยอะ ปกติจะใส่ในถุงกัน x-ray แต่เหมือนรอบนั้นฟิล์มเยอะ ยัดใส่ไม่หมด ก็ x-ray ปกติ กลับมาก็ล้างปกติ (ยกเว้นประเทศอเมริกา ที่ต้องเช็กเครื่องดีๆเพราะเหมือนว่าจะใช้เครื่องรุ่นใหม่ ที่ส่งผลสร้างความเสียหายกับฟิล์มแล้วบางจุดตรวจ)

หรือถ้ามีเวลาบางคนก็จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจฟิล์มเช็กด้วยมือแล้วไม่เอาเข้าเครื่อง แต่ส่วนมากเวลาจะเร่งและเจ้าหน้าที่ส่วนมากจะไม่ยอมตรวจและจะให้เอาฟิล์มเข้าเครื่อง x-ray อย่างเดียวเลย เลยอยากจะแนะนำว่าถ้าอยากเซฟฟิล์มของเรา ลองลงทุนซื้อถุงกันรังสี x-ray หน่อยก็ได้ครับ

Categories
Back Issue

I SHOOT FILM / SPECIAL / PART 6

Film Never Die

“… บางครั้งเรามีฟิล์มที่ถ่ายไว้นานแล้ว จนลืมไม่ได้ล้าง แล้ววันนึงเราเอาไปล้าง พอได้เห็นรูป เราก็จะหวนนึกถึง ณ ขณะเวลาที่ได้กดชัตเตอร์ มันจึงเป็นมากกว่าการถ่ายรูปง่ายๆ ด้วยโทรศัพท์มือถือ … “

Chanya Mcclory

ส่วนนึงของบทสัมภาษณ์ที่ผมชอบ ของ น้องนิ้ง นางแบบที่มาขึ้นปก I Shoot Film ฉบับพิเศษ เดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง แสงกระสือ 2 ที่น้องนิ้งรับบทเป็นนางเอก กำลังเข้าโรงพอดี อ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม และชมภาพแฟชั่นสวยๆได้ในคอลัมน์ Special Interview

และต้อนรับหน้าร้อน ด้วยการถ่ายภาพแบบ Redscale ที่จะให้ภาพโทนร้อน เผื่อว่าจะลองนำไปใช้กับการถ่ายภาพด้วยฟิล์มในช่วงนี้ อ่านเทคนิคการถ่ายภาพกลับด้านฟิล์ม ได้ในคอลลัมน์ Film Tips นะครับ

หลังจบการสนทนา ผมพูดขอบคุณนิ้ง ขอบคุณคนรุ่นใหม่ ที่ชื่นชอบการถ่ายรูปกล้องฟิล์ม เพราะจริงๆอุตสาหกรรมฟิล์มมันเคยตายไปแล้ว แต่เพราะยังมีคนที่รักมันอยู่ ฟิล์มจึงได้กลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง

ฝากติดตามภาพแฟชั่น บทสัมภาษณ์ และภาพยนตร์ของน้องนิ้งด้วยนะครับ

กำพล กิตติพจน์วิไล

#ishootfilmmagazine

Ookbee

MEB

Hytexts

ISSUU

Categories
Interview

Interview : นิ้ง Chanya Mcclory

ชื่อ : ชัญญา แม็คคลอรี่ย์ (Chanya Mcclory)

ชื่อเล่น นิ้ง

IG : https://instagram.com/chanyamcclory

IG ภาพฟิล์ม : https://instagram.com/chanyabroccoli

Hashtag ภาพฟิล์ม : #throughchanyalens

ISF : เริ่มถ่ายฟิล์มมาตั้งแต่เมื่อไหร่

น้องนิ้ง : ตั้งแต่ตอนเรียนมหาวิทยาลัย มีรุ่นพี่ที่ไปถ่ายรูปด้วยกันให้กล้องฟิล์มมา เป็นกล้อง YASHICA และฟิล์มตัวแรกที่ได้ลองใช้ก็เป็น ฟิล์มบูด ซึ่งสีสวยมาก ก็เลยชอบตลอดมา แต่เพิ่งมารู้ทีหลังว่า ฟิล์มบูด ไม่ได้มีสีสวยเหมือนกันทุกม้วน

ISF : ทำไมถึงชื่นชอบการถ่ายรูปกล้องฟิล์ม

น้องนิ้ง : ชอบตรงที่ได้ลุ้น ว่าภาพที่ถ่ายจะออกมาเป็นยังไง มันคือ ความสนุก ยิ่งใช้กล้องฟิล์มที่เป็น compact ที่มัน auto และได้ถ่ายบรรยากาศงานปาร์ตี้ ภาพของคนที่ถูกถ่าย จะออกมาเป็นธรรมชาติมากๆ เพราะทุกคนจะไม่มานั่งแอ๊คท่า มันมีเสน่ห์ที่ไม่เหมือนกล้องดิจิตอล ที่เราจะชินกับการกดรัวๆ แต่กล้องฟิล์มเราต้องคาดการณ์ ต้องจับจังหวะ ยิ่งตอนนี้ฟิล์มแพง พอจะกดชัตเตอร์ต้องคิดแล้วคิดอีก 555

ISF : กล้องประจำตัวและฟิล์มที่เลือกใช้บ่อยๆ

น้องนิ้ง : กล้อง CONTAX T3 เพราะชอบ body โดยเฉพาะ body สีดำ ชอบการ design product มันจะเหลี่ยมๆ ดู minimal และใช้งานง่าย ฟิล์ม Kodak Portra 400 ชอบสี ชอบ mood และ tone ของฟิล์ม ยิ่งเป็นฟิล์ม 400 ก็จะใช้งานง่าย เหมาะกับทุกสภาพแสง ยิงแฟลชออกมาด้วยก็ยังสวย

ISF : ชอบถ่ายรูปประเภทไหน

น้องนิ้ง : ชอบถ่าย Portrait ยิ่งเวลาได้ถ่ายคนๆนึง แล้วคนๆนั้น ชอบรูปที่ถ่ายให้ ก็จะดีใจมาก เคยถ่ายให้รุ่นพี่คนนึง ทุกวันนี้ยังใช้รูปที่ถ่ายให้เป็น profile อยู่เลย สิ่งที่ชอบมากอีกอย่างเวลาถ่าย Portrait ก็คือ การที่เสน่ห์ของฟิล์ม บวกกับคนที่มี character แต่จริงๆแล้วก็ชอบถ่ายอย่างอื่นด้วยนะ พวก Landscape ก็ชอบ เพราะการถ่ายรูปกล้องฟิล์ม มันคือการบันทึกช่วงเวลา ณ ขณะนั้นเอาไว้จริงๆ เพราะฟิล์มมีแค่ 36 รูป เราจะอยากหยิบรูปกลับมาดูอีก ในช่วงเวลาที่สำคัญนั้นๆ ไม่เหมือนดิจิตอล ที่พอมีเยอะๆ ก็ไม่อยากเปิดดูแล้ว บางครั้งเรามีฟิล์มที่ถ่ายไว้นานแล้ว จนลืมไม่ได้ล้าง แล้ววันนึงเราเอาไปล้าง พอได้เห็นรูป เราก็จะหวนนึกถึง ณ ขณะเวลาที่ได้กดชัตเตอร์ มันจึงเป็นมากกว่าการถ่ายรูปง่ายๆ ด้วยโทรศัพท์มือถือ

ISF : ประสบการณ์สนุกๆจากการถ่ายฟิล์ม

น้องนิ้ง : ตั้งใจจะไปถ่ายรูปรับปริญญาให้พี่ชาย ด้วยกล้องฟิล์ม แล้วจะเอาฟิล์มม้วนนี้ให้ มอบเป็นของขวัญรับปริญญา ไม่ว่าพี่ชายจะเดินไปไหน ก็จะตามถ่ายไปทุกที่ และคิดว่าจะต้องได้ภาพที่ดีมากๆ แต่พอเอาฟิล์มไปล้างแล้ว ไม่มีภาพออกมาเลย เพราะใส่ฟิล์มไม่เข้า สุดท้ายก็เลยให้ฟิล์มเปล่าๆนั้นไปแทน 555

ตัวอย่างรูปที่ถ่ายด้วยกล้องของน้องนิ้ง

Thank You

Facebook : KHAO NIAO ข้าวเหนียว

IG : khaoniao.bkk

Tel: 06-1410-8888

Categories
Interview

Interview : WJ Meam

ชื่อ : นางสาว วิชญาพร จิรเวชสุนทรกุล

ชื่อเล่น : มีน

IG : wjmean

YouTube

IG เกี่ยวกับรูปถ่ายด้วยฟิล์มของน้อง เพื่อให้ผู้อ่านได้ไปติดตามผลงาน #meanmories

ISF : เริ่มถ่ายฟิล์มมาตั้งแต่เมื่อไหร่

Mean : ปี 2018 เริ่มจากชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น นางเอกใช้ให้พระเอกไปซื้อกล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง จากซุปเปอร์มาร์เก็ต แล้วพอได้ไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น เลยไปลองซื้อมาใช้บ้าง กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง จึงเป็นกล้องฟิล์มตัวแรกในชีวิตของมีน

ISF : ทำไมถึงชื่นชอบการถ่ายรูปกล้องฟิล์ม

Mean : ชอบ Process ทั้งหมดของการถ่ายรูปกล้องฟิล์ม ตั้งแต่ focus ถ่าย รอเอาไปล้าง จนได้เห็นรูป มันสนุกทั้งหมด มีนชอบมากที่เราไม่รู้ว่ารูปที่ถ่ายไปมันจะพังมั้ย จะได้รูปมั้ย โดยฝึกจากการเรียนในมหาวิทยาลัย และการถ่ายรูปให้พี่สาว

ISF : กล้องประจำตัว และฟิล์มที่เลือกใช้บ่อยๆ

Mean : กล้อง Leica Minilux กล้องใช้แล้วทิ้ง ของ Fuji มีนชอบความที่มันไม่ชัด เบลอๆ ได้ภาพอีก mood นึง ดิบๆดี ใช้ถ่ายเวลาที่ไม่ต้องเป็นทางการมาก ใช้ได้ทุกโอกาส สนุก ฟิล์ม Kodak Portra 400 และ Fuji Superia X-tra 400

ISF : ชอบถ่ายรูปประเภทไหน

Mean : ชอบถ่ายรูปวิว รูปตึก ถ้าเป็นรูปคน ก็จะเป็นแนว street ถ่ายคนกับ Space กว้างๆ ซึ่งเข้ากับกล้องประจำตัว ที่เป็นเลนส์มุมกว้าง

ISF : ประสบการณ์สนุกๆจากการถ่ายฟิล์ม

Mean : มีนเอากล้องไปถ่ายรูปที่ ฮอกไกโด ซึ่งหนาวมาก เลยกลัวว่ากล้องจะ error มีนเลยซื้อถุงอุ่น ซึ่งจะมีกาวไว้แปะตามเสื้อผ้า แต่เอามาแปะที่กล้องแทน ทำให้ทุกวันนี้กล้องยังมีรอยกาวติดอยู่เลย จากที่ต้องการให้ความอบอุ่น(น้อง)กล้อง กลายมาเป็นสร้างบาดแผลให้แทน 555

ตัวอย่างรูปที่ถ่ายด้วยกล้องของน้องมีน

รูปจากกล้องตัวแรก FujiFilm Simple Ace
รูปสไตล์ที่ชอบถ่ายจาก Leica Minilux

Categories
Back Issue

I SHOOT FILM / SPECIAL / PART 5

เสน่ห์ของกล้องฟิล์ม

สวัสดีชาว I Shoot Film Magazine ทุกท่าน เคยลองซื้อ กล้องฟิล์มใช้แล้วทิ้ง มาถ่ายรูปมั้ยครับ หลายๆคนอาจจะมองว่า เป็นกล้องที่คุณภาพไม่ดี ภาพที่ออกมา ดูไม่คมชัด ไม่สวย แต่ทั้งหมดที่ว่ามา คือเสน่ห์ของกล้องประเภทนี้ ซึ่งน้องมีน นางแบบที่มาขึ้นปกของเราในครั้งนี้ กลับชื่นชอบเสน่ห์ของกล้องใช้แล้วทิ้ง ชนิดที่ว่าซื้อเก็บไว้เป็นสต๊อก เหมือนการซื้อฟิล์ม และมีติดตัวอยู่ตลอดเวลา ติดตามอ่านเรื่องราวสนุกๆนี้ได้จากคอลัมน์ Special Interview นะครับ

ส่วนคอลัมน์ Film Comparison ในฉบับนี้ เป็นการ Battle กันของฟิล์มเบสิค เริ่มต้น ที่คนเล่นกล้องฟิล์มใช้กัน กับฟิล์มระดับไฮเอน ที่เอาไปใช้ถ่ายหนัง Hollywood แค่ลุ้นว่ารูปที่ออกมาจากฟิล์มสองชนิดนี้ จะเป็นยังไง ก็สนุกแล้ว

ขอแถมท้ายนิดหน่อยว่า การถ่ายปกฉบับนี้ ช่างภาพของเราอยากลองทำอะไรใหม่ๆ ด้วยการยิงภาพจาก Projector ขึ้นไปบนตัวนางแบบ จนได้ภาพปกและแฟชั่นเซ็ตที่สนุกสนาน ลองติดตามดูนะครับ

Interview

May the FILM be with you

กำพล กิตติพจน์วิไล

#ishootfilmmagazine

Ookbee

MEB

Hytexts

ISSUU