Categories
Article

Film Tips : About Hasselblad

สวัสดีครับ ก่อนอื่นต้องขอบอกว่า ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง กล้อง Hasselblad แต่ผมมีความรักใน Hasselblad ประกอบ กับใช้มาเป็นเวลาหลายปี ซึ่งผมได้รวบรวมความรู้ต่างๆ จาก อ.ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง และ ช่างซ่อมกล้อง Hasselblad ที่ให้ข้อมูล ผมมาตลอด รวมถึงจากประสบการณ์ของผมเอง ผมจึงอยาก นำข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ มาแชร์ต่อให้ทุกท่านที่มีความสนใจ ผมหวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย หากข้อมูลผิดพลาดประการใด ก็ขอกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอบคุณครับ

เรื่องวิธีดูที่เก็บแผ่นDark Slide Holder ที่ติดกับกลักฟิล์มของกล้องHasselblad ว่าของแท้กับของเทียบต่างกันยังไง 

Dark Slide Holder ที่เป็นของแท้จะไม่มีขายแยก เพราะจะออกมาพร้อมกับตัวกลัดฟิล์มบางรุ่น หรือ รุ่นหลังๆเท่านั้น และไม่สามารถถอดไปติดกับตัวกลัดฟิล์มรุ่นก่อนได้ครับ ส่วนที่เป็นของเทียบจะมีขายอยู่เป็นของใหม่ ราคาอยู่ที่หลักร้อยถึงหลักพันกว่าบาทเท่านั้น

Dark Slide Holder ของแท้กับของเทียบก็จะแตกต่างกันประมาณนี้ (ล่าสุด) ให้สังเกตุที่ฟ้อนต์ยี่ห้อ ของแท้จะเขียนว่า Hasselblad Sweden แต่ของเทียบจะเขียนแค่ว่า For Hasselblad (แต่อนาคตอาจจะมีทำได้เหมือนกันมากขึ้นก็เป็นได้) และตัวเนื้อพลาสติกเกรดของแท้เท่าที่สัมผัสดูจะเงาๆด้านๆนิดๆหน่อยๆ ก็บอกไม่ถูก แต่คุณภาพดีเลยครับ ส่วนของเทียบเนื้อพลาสติกจะมีทั้งแบบด้านและเงา แยกชัดเจนจะไม่เหมือนของแท้ที่มันผสมกันเงากึ่งด้านหน่อยๆ 

รูปตัวอย่างน่าจะพอเห็นได้ชัดนะครับ ว่าอันไหนของแท้ อันไหนของเทียบ 

ส่วนด้านในอย่างที่บอกไปคร่าวๆว่าทำไมของแท้ถึงไม่มีขายแยกหรือไม่สามารถติดกับกลัดฟิล์มรุ่นแรกๆบางตัวได้ ก็เพราะกลักฟิล์มรุ่นที่มีที่เก็บแผ่น Dark Slide Holder มันจะมีรูกับน็อตที่ยึดระหว่างตัวกลักฟิล์มกับตัวholderครับ แต่ของเทียบคือเป็นกาวสองหน้าติดอยู่ที่ตัวholderและติดกับหนังด้านนอกครับ 

คร่าวๆ รุ่นบอดี้กล้องที่ตัวกลักฟิล์มจะมีติดตัวเก็บแผ่นดาร์กสไลด์มาด้วยจะมีตามนี้ครับ 503cw, 501cm, 202FA, 203FE, 205TCc และ 205Fcc ครับ

ซึ่งส่วนตัวผมก็ไม่ได้มีปัญหากับของแท้หรือของเทียบนะครับ เน้นใช้งาน แค่กันคนบางกลุ่มที่หัวหมอจะมาหลอกหรือโก่งราคา เพราะกลักฟิล์มรุ่นที่มีที่เก็บแผ่น Dark Slide Holder มันเป็นกลักฟิล์ม รุ่นหลังๆที่ผลิตออกมาน้อย และราคาในตลาดมือสองก็อาจจะแพงกว่ากลัดฟิล์มรุ่นธรรมดา รุ่นแรกๆนิดนึง

เรื่องวิธีดูว่าบอดี้กล้องและตัวกลักใส่ฟิล์ม ของเรานั้นผลิตปีไหน มันจะมีรหัสลับบอกอยู่ครับ

V H P I C T U R E S 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 0

ที่ด้านหลังของตัวกล้อง(Body Camera) กับกลักฟิล์ม (Magazine Film Back) จะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษอยู่ ซึ่งถ้าเราดูตามรหัสข้างบน

U = 7 , T = 6 เป็น 76 กลักฟิล์มตัวนี้ผลิตเมื่อปี 1976 เป็นต้นครับ

ส่วนของบอดี้กล้อง U = 7 , R = 8 บอดี้กล้องตัวนี้ผลิตเมื่อปี 1978 ครับ

และอีกเรื่องนึก ตัวไส้ในของตัวกลักฟิล์ม ซึ่งปัจจุบันจะค่อนข้างสลับกันมั่วไปหมด หรือ บางตัวเลขก็ถลอกออก ไม่ก็หลุดออกไปทำให้ไม่รู้ว่าเป็นรหัสอะไร แต่ตามหลักแล้ว ใส้ในกับตัวหลักต้องเป็นเลขเหมือนกัน แต่จริงๆถามว่าสำคัญมั้ย หรือ มันมีผลต่อการถ่ายรูปมั้ย บอกเลยครับ ไม่มีผลใดๆกับการถ่ายรูป ซึ่งในบางครั้งได้เลขมาตรงกัน แต่อาจจะต้องมาเสียเงินซ่อมแซมเยอะกว่าเลขที่ไม่ตรงกันค่อยข้างบ่อย เพราะการที่เลขตรงกันเจ้าของเดิมอาจจะไม่เคยเอาออกมาใช้เลย เป็นของเก่าเก็บ ส่วนอันที่สลับไปมาก็เกิดจากการใช้งานในกองถ่ายเมื่อก่อนที่ต้องใช้กลักฟิล์มหลายกลัด เพราะต้องถ่ายฟิล์มหลายม้วน ในเวลาที่จำกัด ก็เลยทำให้ไส้ในมันสลับไปมา ตอนที่ขายต่อมือสองกันครับ

วิธีดูก็ง่ายให้ดูเลขของไส้ในจะมีเลข 3หลัก (รูปข้างบน) 838 ก็จะตรงกับ 30EI60838 ที่เป็นเลข3ตัวหลังครับ

บางรุ่นอาจจะเป็น 6หลัก พร้อมกับมีตัวอักษร2ตัว เหมือนที่กลักด้านนอกครับ อันนี้แล้วแต่รุ่นของตัวกลักฟิล์ม เพราะ Hasselblad มีผลิตตัว Magazine Film Back มาก็ค่อนข้างจะหลายรุ่นครับ

Focusing Screen

Acute matte focusing screen D type ที่มีความสว่างมาก โฟกัสง่าย เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ติดมากับตัวกล้อง (ลักษณะของ Acute Matt screen D type สังเกตุง่ายๆ จะเห็นว่าขอบของสกรีนมีรอยบาก 2 ตำแหน่ง) ส่วนสกรีน Acute Matt Screen type จะไม่มีรอยบากสองจุดนี้ Acute Matt screen ผลิตแยกจำหน่ายเพื่อ upgrade ให้รุ่นที่ผลิตออกมาก่อนหน้านี้ เช่น 500cm 503cx 500ELM 500ELX 553ELX ที่ยังเป็น Bright screen หรือ Standard screen ได้ใช้สกรีนที่สว่างขึ้น

ส่วน Acute Matt Screen D type สกรีนที่มีรอยบาก 2 จุดนี้และเราเห็นแยกขายนั้น อาจเป็นไปได้ว่าอาจถูกถอดสับเปลี่ยน เพื่อนำมาขายแยกต่างหาก เพราะปกติแล้ว Acute Matt Screen D type ผลิตมาเท่าๆ กับจำนวนกล้อง 501cm หรือ 503cw เท่านั้น ไม่ได้ผลิตเกินเพื่อจำหน่ายให้กล้องรุ่นๆ ก่อนๆ อับเกรด 


Diopter

เคยสงสัยมั้ยได้กล้องฟิล์มHasselbladมาแล้ว แต่ทำไมมองไม่ชัด หรือ ถ่ายออกมาโฟกัสไม่เข้า ทั้งที่ก็เปลี่ยนตัว “Focusing Screen” เป็นแบบ Acute Matt Screen type ที่มีความสว่างมาก โฟกัสง่าย แต่ก็ยังมองไม่ชัดอยู่ที่ เหมือนจะชัด เหมือนจะโฟกัสเข้า แต่พอดูรูปแล้วหรือเอาฟิล์มไปล้างสแกนออกมา กลับเบลอไม่ชัด จนหลายคนน่าจะมีอาการเลิกเอากล้องHasselbladมาถ่ายกันเลยทีเดียว และก็ไม่มีใครรู้ถึงสาเหตุจริงๆจังๆสักคน ทุกคนล้วนเข้าใจว่า เป็นเพราะตัวสกีนไง แต่ถ้าเปลี่ยนสกินจากตัว Standard Foucing Screen เป็นแบบ Acute Matt Screen type แล้วทำไมยังมองไม่ชัด ส่วนมากก็ไม่ค่อยมีใครตอบได้ 

จนวันนึงผมได้รู้ว่าเราสามารถเปลี่ยนตัวแว่นขยายหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Diopter ซึ่งมันมีระยะต่างกันด้วยกันถึง 11ระยะ จะแบ่งเป็น +5 ถึง 0 แล้วก็ไปที่ -5 ซึ่งตัว Diopter นี้จะมีทั้งแบบแผ่นที่ถอดเปลี่ยนกับช่องมอง waist level viewfinder และแบบเกลียวคล้ายฟิวเตอร์ที่เป็นวงกลมสำหรับเปลี่ยนกับ prism finder

ซึ่งความแตกต่างระหว่างตัว waist level viewfinder กับ prism finder ต่างกันแค่ waist level จะมองสลับซ้ายเป็นขวาขวาเป็นซ้าย ซึ่งหลายๆคนจะไม่ค่อยชอบเพราะมันทำให้สลับสน แต่บางคนก็จะทำความเคยชินได้ก็ไม่เป็นปัญหา แต่ตัว prism นอกจากจะปรับซ้ายเป็นซ้ายขวาเป็นขวาแล้ว ภาพที่มองจะค่อนข้างตรงกับตัวเลนส์มากกว่าหน่อยนึง เพราะเท่าที่ใช้มาและสังเกตุดูเหมือนตัว waist level มันจะซูมเข้าไปมากกว่านิดหน่อย ซึ่งส่วนตัวก็ชอบตัวwaist level นะครับ เพราะมันดูชัดดีตอนโฟกัส

ส่วนมากตัว Diopter ที่ติดมากับกล้องมักจะเป็นค่ากลางคือ 0 ที่เป็นสายตาสำหรับคนปกติ ซึ่งส่วนมากจะดูกันชัดไม่มีปัญหา แต่ใครสายตาสั้นหรือยาว และไม่ใส่แว่นหรือเพราะสั้นแค่นิดหน่อยหรือแว่นที่ตัดไว้นานมากแล้วสายตาสั้นขึ้นหรือยาวขึ้นกว่าเดิมนิดหน่อย ก็ต้องหาพวกบวกหรือลบ (+/-) มาดูนะครับ ตัวอย่างอย่างของผมเองจะเป็น -1 หรือ -3 จะดูค่อนข้างชัด แต่ส่วนตัวยังสายตาไม่ยาว และสายตาสั้นนิดหน่อยบวกเอียง ก็งงกับตัวเองอยู่ มันควรจะเป็นบวกมั้ย แต่พอลองใส่ +1 กลับไม่ชัด ใส่ 0 ดูชัดนิดนึงแต่ไม่มาก ยังดูเบลอๆมัวๆ แต่พอใส่ -1 เท่านั้นแหละ เหมือนได้ดวงตาแห่งธรรม มองชัดแจ๋วหมดเลย 

สำหรับผู้เริ่มต้นกับกล้องฟิล์ม Hasselblad ที่เป็น Medium Format Camera ซึ่งป็นเรื่องต้องเรียนรู้ใหม่ ตั้งแต่การจับถือกล้อง การใส่ฟิล์ม การวัดแสง การเริ่มจัดองค์ประกอบภาพจากเฟรมสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฯลฯ แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นสื่งที่ไม่ได้ยากเกินไปที่จะเรียนรู้

Categories
Article

เรื่องของฟิล์มหนัง Kodak Eastman สีและขาวดำ [135&120]

ตอนเริ่มถ่ายฟิล์มใหม่ๆแบบยังไม่มีความรู้เท่าไหร่ ประมาณ2007 ตอนนั้นเอาตรงๆชอบทุกฟิล์ม ถ่ายได้หมดจะยี่ห้อไหน สี ขาวดำ สไลด์ บูด ได้หมดจริงๆ เพราะชอบความเป็นธรรมชาติของแต่ละชนิด ที่สีโทน ไม่มีตายตัว ใครว่าฟูจิต้องอมเขียวเสมอไป อยู่ที่อุณหภูมิแสงของแต่ละทวีปหรือช่วงค่าแสงเวลาต่างๆ ยังไม่รวมถึงเลนส์ที่ใช้เป็นเลนส์แก้วธรรมดา เลนส์พลาสติก หรือเลนส์แก้วที่โค้ดติ้งเพิ่ม แล้วก็น้ำยาต่างๆ อีกมันไม่มีอะไรตายตัวจริงๆ แต่ตอนนี้ คือเจอฟิล์มที่ชอบจริงๆละ แบบต้องหาซื้อติดไว้ตลอดเลย สำหรับของ120 คือ Kodak Eastman ที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับถ่ายทำหนัง/ภาพยนต์ ที่ต้องใช้กล้องIMAXเท่านั้น เลยต่อไปขอเรียกสั้นว่า ฟิล์ม Kodak IMAX ละกันครับ ส่วนฟิล์มหนังที่เป็นขนาด 35mm (135) ส่วนตัวยังเฉยๆคือไม่ได้ชอบอะไรเท่าไหร่ครับ

ฟิล์มหนังจะมีทั้ง ฟิล์มสี ฟิล์มขาวดำ และ ฟิล์มสไลด์ แบบฟิล์มสีปกติเหมือนกันนะครับ แต่จะต่างตรงที่ ฟิล์มหนังที่เป็นขาวดำ หรือ สไลด์ จะไม่มีการเคลือบคาร์บอนเหมือนกันตัวฟิล์มสี ซึ่งฟิล์มหนังสไลด์หรือฟิล์มหนังขาวดำจะสามารถล้างรวมกับฟิล์มขาวดำ/ฟิล์มสไลด์ปกติได้เลยครับ แต่ก็ไม่ค่อยมีฟิล์มหนังขาวดำ/สไลด์ ออกมาโหลดขายให้เยอะเท่ากับฟิล์มหนังสีครับ

“ ความสนุกของกล้องฟิล์ม ไม่ใช่แค่โทนสี!! มันคือความคาดเดาได้ยากของภาพที่ออกมา ความสนุกที่ลบทิ้งไม่ได้ ไม่มีปุ่มdelete “

เหตุผลที่ชอบเพราะมันดูมีเอกลักษณ์เพิ่มกว่าฟิล์มปกติ สี/ขาวดำ/สไลด์ ของฟิล์ม 120 กว่าตรงที่มีรูหนามเตย เวลาสแกนก็จะเห็นรูหนามเตยหน่อยๆ ส่วนตัวมองว่าทำให้ดูมันเป็นฟิล์มเพิ่มขึ้นดี เพราะฟิล์ม120 คุณภาพค่อยข้างดี เรื่องความเนียนละเอียด ทำให้เวลาถ่ายถ้าไม่บอกบางทีก็ไม่รู้เลยว่าใช้ฟิล์มถ่าย นึกว่าใช้ดิจิตอลถ่ายแล้วใส่filter/plug-in/preset โทนสีฟิล์มแบบค่ากลางลงไป 

แต่ฟิล์ม Kodak IMAX เองก็ยังมีส่วนที่ไม่ค่อยชอบตรงที่ น่าจะมียิงโค้ดบอกรหัสฟิล์มตรงขอบหน่อยก็ยังดี แบบว่าตัวนี้คือ 5203,5213,5207,5219 เคยมีอยู่ครั้ง ที่ตอนถ่ายฟิล์มของทาง Kodak IMAX มาแรกๆแล้วไม่จดไว้ แค่ใส่ซองแล้วเก็บใส่แฟ้ม เวลาผ่านไป ลืมเลย แยกไม่ออก อันไหน 50D อันไหน 250D คือ ระหว่าง T(Tungsten) D(Daylight) ยังพอแยกได้บ้างตอนสแกน แต่ iso grain อย่าง 500T 200T ก็ยังพอจะแยกได้บ้าง ถ้าชำนาญ แต่ 250D กับ 50D คือ บอกตามตรงแยกไม่ได้จริงๆ ไม่เชี่ยวชาญพอ เพราะ250D มันก็ละเอียด เนียนพอสมควร ไม่ค่อยมีgrain ให้เท่าไหร่ 500T ยังพอมีให้เห็นบ้างนิดหน่อย 

***ขอแก้ไขและเพิ่มเติมนิดนึง พอดีพึ่งได้ข้อมูลครับ กราบขออภัย ข้อมูลใหม่พึ่งรู้มาว่า จริงๆตัวฟิล์มหนัง120ที่ใช้กับกล้องถ่ายหนังยี่ห้อ/รุ่น IMAX เลยเรียกฟิล์มหนัง120เรียกว่า ฟิล์มหนังIMAX ซึ่งจากที่เห็นรูปฟิล์มหนัง120 ที่ใช้ถ่ายนังจริงๆมาเหมือนตัวขนาดของฟิล์มจะเป็นขนาด 70MM แต่เนื่องด้วยกระดาษที่ใช้พันฟิล์มสี/ขาวดำและตัวฟิล์ม120 มันมีขนาดประมาณ​ 60-65MM เลยต้องมาตัดขอบให้ความกว้างมันลดลงเพื่อที่แสงจะได้ไม่รั่วโดนฟิล์มครับ และส่วนที่โดนตัดทิ้งไปก็เผอิญเป็นส่วนที่บอกชื่อโค้ดฟิล์มด้วยนั้นเองครับ ตัวอย่างฟิล์มถ่ายหนัง Kodak IMAX ที่ใช้ถ่ายหนังจริงๆ เช่น Batman ครับ สังเกตุขอบฟิล์มจากรูหนามเตยจะมีพื้นที่เพิ่มอีกหน่อย

กับอยากให้ทางค่าย Kodak ทำการผลิตฟิล์มหนังทั้งสีและขาวดำของ IMAX ออกมาเลยก็ดีครับ เพราะปัจจุบันที่มีซื้อขายและใช้ถ่ายภาพนิ่งกันอยู่ เป็นการที่ทางร้านหรือคนได้ไปขอซื้อหรือประมูลเศษฟิล์มที่เหลือจากการถ่ายหนังแล้วนำมารีโหลดเอง ซึ่งก็อาจจะมีปัญหาบ้างเช่นฟิล์มได้มเป็นรอยหรือมีแสงรั่วหรือโหลดมาความยาวไม่พอดี สั้นไปยาวไปครับ แต่ก็ไม่ได้ว่าหรือตำหนิคนโหลดนะครับ คือ เข้าใจตรงปัญหาตรงนี้ เพราะการโหลดฟิล์ม120 มันค่อนข้างยากกว่าฟิล์ม135เยอะมาก ซึ่งส่วนตัวเองก็ยังไม่สามารถที่จะโหลดฟิล์ม120ได้เองเลย ที่มีโหลดฟิล์มเองส่วนมากก็จะเป็นแค่ฟิล์ม135  

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ชอบนะ ไม่ใช่ไม่ชอบ ก็แค่ทุกครั้งที่ถ่ายฟิล์มแล้วเอาไปล้างสแกนเสร็จ ก็จะรีบเอากลับมาใส่ซองใหม่แล้วเขียนระบุไว้เลยว่าฟิล์มตัวนี้ชนิดไหน รวมถึงใช้กล้องเลนส์ยี่ห้ออะไร วันที่ถ่ายด้วย 

ข้อมูลคร่าวๆสำหรับฟิล์มหนังสี Kodak IMAX ปัจจุบันยังคงมีผลิตอยู่มาอยู่เรื่อยๆ เพราะวงการถ่ายภาพยนตร์ฮอลลีวูดยังคงมีผู้กำกับที่ใช้ฟิล์มถ่ายหนังอยู่ด้วย โดยรหัสปีผลิตล่าสุดจะเป็น Vision3 และจะมีISO ทั้งหมด4ระดับ คือ 50D,200T,250D,500T ครับ

ภาพตัวอย่างจากฟิล์มแต่ละชนิดครับ (สำหรับฟิล์มหนังขนาด 120) ก็พยามตอนสแกนจะไม่ปรับอะไรมาก และการล้างฟิล์มก็ล้างด้วยน้ำยาสูตรตรง คือ ECN-2 ครับ

Kodak Eastman IMAX 65MM Vision3 50D/5203

Kodak Eastman IMAX 65MM Vision3 200T/5213

Kodak Eastman IMAX 65MM Vision3 250D/5207

Kodak Eastman IMAX 65MM Vision3 500T/5219

Kodak Eastman Double-X [5222]

Kodak Eastman Double-X ปกติจะมีทำแค่2format ที่ขายอยู่ในท้องตลาดของการถ่ายหนัง เลขโค้ด ขึ้นด้วย5 จะเป็นฟิล์ม35mm [5222] เลขโค้ดขึ้นด้วย 7 จะเป็นฟิล์ม 16mm [7222]

Film : Kodak Eastman 5222 [Double-X] ISO 250 / 135 Format

Develop : D-96 [stock] 7min 20°C

Scan : Fuji Frontier SP-3000

Len : Carl Zeiss Planar 120mm Makro F4 CF T*

Body : Hasselblad 503CW

เป็นการเอาฟิล์มขนาด 35mm (135) มาถ่ายในกล้องMedium Format ที่ใช้ฟิล์มขนาด 120 ภาพที่ออกมาก็จะติดขอบฟิล์มและรูหนามเตยไปด้วยครับ

Film : Kodak Eastman 5222 [Double-X] ISO 250 / 135 Format

Develop : D-96 [stock] 7min 20°C

Scan : Fuji Frontier SP-3000

Len : Hasselblad Carl Zeiss 110mm f2 Planar T* FE

Body : Hasselblad 202FA

Kodak Eastman 65MM Double-X [250]

แน่นอนละฟิล์ม Double-X ที่มีขนาดประมาณ 65mm เป็นฟิล์มลิมิตเต็ดที่ทาง Kodak Eastman จับมือกับทาง IMAX ผลิตขึ้นมาให้กับผู้กำกับโนแลนโดยเฉพาะสำหรับการถ่ายทำหนังเรื่อง Oppenheimer [2023] และเศษฟิล์มที่เหลือจากการถ่ายหนัง ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ถ่ายทำหนังได้เนื่องจากความยาวอาจไม่พอ ได้ถูกนำมาประมูลและผู้ที่ประมูลได้ไป ก็ได้นำมาโหลดใส่ กลักฟิล์ม 120 Medium Format Camera และนำมาจำหน่ายให้กับคอคนรักกล้องฟิล์มที่ชื่นชอบฟิล์มขาวดำและกล้องMedium Format

Develop by Kodak D-76 [1+1] 10min 20°C

D-96 (Stock) 25min [Push 1600] 20°C

D-96 (Stock) 8min [Push 400] 20°C

ข้อมูลคร่าวๆเกี่ยวกับตัวฟิล์มหนังขาวดำ อย่าง Eastman Double X มีคร่าวๆประมาณนี้ครับ 

Cr. ลิ้งค์ที่มาของข้อมูลแบบละเอียดครับ 

Categories
Article

Bokeh Effect on Film with Hasselblad

มาแชร์เทคนิคประสบการ์ณลูกเล่นแปลกๆกับกล้องฟิล์มครับ อันนี้เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของโบเก้ (Bokeh) ที่ปกติเวลาเราถ่ายรูปข้างหลังให้เบลอแล้วเป็นแสงข้างหลังจะเป็นวงกลมหรือหกเหลี่ยมแปดเหลี่ยมนั้น นั้นมันเกิดขึ้นจากรูรับแสงของเลนส์กล้องถ่ายรูปครับ แต่แผ่นโบเก้จะทำให้รูปร่างเปลี่ยนไป เช่นเป็นรูปดาว, รูปเกล็ดหิมะ, รูปตัวโน้ต ฯลฯ แค่เอาแผ่นโบเก้มาปิดที่หน้าเลนส์ แล้วเปิดรูรับแสง/ตั้งค่ารูรับแสงไว้ให้กว้างที่สุด เช่น f1.4 หรือต้องแล้วแต่เลนส์ ว่าขนาดหน้าเลนส์และเป็นช่วงเลนส์แบบเทเลซูม หน้าเลนส์กว้าง ก็สามารถเปิดรูรับแสงได้ที่ f5.6 ซึ่งก็ยังสามารถเปลี่ยนรูปร่างของตัวโบเก้ได้เหมือนกันครับ

เลนส์แนะนำสำหรับกล้อง DSLR / SLR 50mm ขึ้นไปครับ แต่รูรับแสงต้องเปิดที่ f1.4 หรือ f1.8 เท่านั้น f2.8 อาจจะยังไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างของตัวโบเก้ได้

ส่วนถ้าเป็นเลนส์ของ hasselblad กล้อง medium format เลนส์ที่แนะนำจะมี 110,120,150,250,350,500 ระยะ110ขึ้นไป 80/2.8 รูรับแสงกว้างที่สุดยังเล็กกว่ารูของแผ่นโบเก้ครับ

ตัวอย่างรูปจากกล้องฟิล์ม 120 Medium Format ครับ ฟิล์มที่ใช้เป็นฟิล์มหนัง Kodak Eastman Vision3 IMAX 500T/5219 ถ่ายด้วยเลนส์ช่วง 120mm [Carl Zeiss Planar 120mm Makro F4 CF T*] เปิดรูรับแสงที่ f4

Categories
Article

Red Scale Film

Redscale Photography เทคนิคการถ่ายภาพกลับด้านฟิล์ม Redscale เป็นเทคนิคในการถ่ายภาพฟิล์มด้วยด้านที่ “กลับด้าน” จากด้านเดิม ทำให้ภาพแบคกราวน์ของฟิล์มกลับมากลายเป็นสีแดง เทคนิคนี้เป็นการทำการทดลอง (experimental) รูปแบบง่ายๆ ที่ทำให้ได้โทนภาพแตกต่างจากฟิล์มทั่วไปอย่างสิ้นเชิง วิธีการสร้างฟิล์มม้วน redscale ทำได้ไม่ยาก โดยการนำฟิล์มกลักเปล่ามาโหลดฟิล์มคืนแบบกลับหัวกัน และม้วนฟิล์มเข้ากลักเปล่าเข้าถุงมืด และทำการตัดฟิล์มออกจากกลักเดิมนั้นทิ้ง ฟิล์มที่จะถ่ายเป็น redscale จะมีความไวต่อแสงน้อยไปอยู่บ้างเนื่องจากแบคกราวน์ใหม่จะมีสีแดงเข้มๆ ก็ให้ชดเชยแสง 1-2 สตอป ตัวอย่าง ฟิล์ม fuji xtra 400 redscale ให้ถ่ายที่ 200iso หรือ 100iso ครับ ถ้าอยากได้โทนภาพแปลกๆ ลองใช้วิธีแปลกๆ แบบ redscale จากความเห็นแล้ว สนุกกว่า ยังดูดีกว่าและหวังผลได้ง่ายกว่าเล่นฟิล์มหมดอายุครับ

Redscale เป็นเทคนิคการถ่ายภาพฟิล์มที่มีการเปิดรับแสงฟิล์มจากด้านที่ไม่ถูกต้อง “redscale” เกิดขึ้นเพราะมีการเปลี่ยนสีอย่างมากเป็นสีแดงเนื่องจากชั้นฟิล์มที่ไวต่อสีแดงถูกเปิดเผยก่อนแทนที่จะเป็นชั้นสุดท้าย

ฟิล์มสีRed Scale คือการกลับด้านฟิล์มจะช่วยทำให้ภาพถ่ายของคุณมีเฉดสีที่สะดุดตาไม่เหมือนใคร

ตัวอย่างจากฟิล์ม Lomography Redscale XR ISO 50–200 ถ่ายใน f stop ที่ต่างกัน วัดแสงค่าตรงกลางแล้วก็ถ่าย +1 , 0 และ -1

ซึ่งจากที่ทดลองการถ่ายฟิล์ม Red Scale แนะนำให้ถ่าย over 1-2 stop จะได้ภาพที่มีเฉดสี เริ่มตั้งแต่สีแดงเพลิง ไปจนถึงสีส้มที่สะดุดตา สีเหลืองที่ดูโดดเด่น รวมทั้งสีทองที่ดุจดั่งต้องมนตร์ คร่าวๆประมาณนี้ครับ

Lomography Redscale XR [120] ISO 50–200

Kodak Eastman Vision2 200T/5217 with Ramjet

Categories
Article

เรื่องคราบรอยขี้กลากบนฟิล์ม120 ทั้งสีและขาวดำ

ฟิล์มขาวดำ120 สิ่งที่บางครั้งสามารถเกิดขึ้นได้คือคราบขี้กลาก เพราะมันคืเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของอากาศ, น้ำยาเคมีที่เคลือบลงบนตัวฟิล์มและส่วนผสมของตัวฟิล์มในการผลิตและตัววัสดุกระดาษที่พันตัวฟิล์มไว้ ซึ่งไม่มีความแน่นอนในการกันไม่ให้มันเกิดขึ้น ซึ่งจะไม่เกี่ยวว่าเป็นฟิล์มใหม่หรือฟิล์มเก่าที่บูดหรือหมดอายุก็เกิดได้หมด

ในฟิล์มขาว-ดำมีส่วนผสมของเจลาตินเงินที่ใช้ในช่วงแรกเป็นสารเคมี/วัสดุที่ไวต่อแสง ซึ่งมันจะsensitiveมากกว่าของตัวฟิล์มสี แต่ไม่ใช่ว่าฟิล์มสีไม่เป็นนะครับ เป็นเหมือนกัน แต่โอกาสเกิดขึ้นจะค่อนข้างน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับฟิล์มขาวดำ

กรณีที่ฟิล์ม2ม้วน ที่ผลิตเลขล็อตเดียวกัน ซื้อจากประเทศเดียวกัน แต่ซื้อคนละร้าน เอากลับมาพร้อมกัน เก็บเหมือนกัน เอามาถ่ายพร้อมกัน ม้วนนึงปกติ อีกม้วนมีขี้กลาก นั่นขึ้นอยู่กับว่าร้านสต็อคแบบไหนครับ บางร้านอาจจะเอาฟิล์มไว้ข้างนอก พอหมดค่อยเติม หรือ ว่ายังไงอันนี้อาจจะต้องดูที่ร้านนั้นๆอีกทีครับ

ถ้าเอามาถ่ายงานจริงจัง ก็อาจจะต้องทำใจยอมรับความเสี่ยงตรงนี้กันหน่อย แต่ถ้าเอามาถ่ายเล่น อยากให้มองในอีกมุมว่า คราบขี้กลากมันไม่สามารถเกิดขึ้นได้กับกล้องดิจิตอล และกล้องดิจิตอลก็เลียนแบบไม่ได้ พูดแบบเข้าใจง่าย มันเกิดขึ้นกับการถ่ายด้วยฟิล์มขาวดำขนาด120เท่านั้น ซึ่งอยากให้มองว่ามันเป็น Special Effect สิ่งพิเศษที่ธรรมชาติช่วยสร้างสรรค์ให้น่าจะดีกว่า

Eastman 500T/5219

แต่ก็นั้นแหละ น้อยคนจะยอมรับและเข้าใจตรงนี้ได้ เพราะทุกคนก็คงคาดหวังว่าจะได้รูปที่เนียนสวยคมชัด กับการถ่ายกล้องฟิล์ม ซึ่งมันอาจจะย้อนแย้งไปหน่อย เพราะความเป็นฟิล์มมันไม่มีทางให้ลายละเอียดเนียนสวยคมชัดได้อยู่แล้ว มันก็ได้แค่ระดับนึง ถ้าคาดหวังตรงนี้ คิดว่าการถ่ายฟิล์มคงจะไม่ตอบโจทย์แล้วนะครับ

ส่วนตัวชอบมากๆ และมองว่าสวยเลย ถ้ามีขี้กลากแบบจางๆ ไม่เยอะเกินไป มันดูมีเสน่ห์ของความเป็นฟิล์มขาวดำดี เพราะถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลก็ไม่มีทางได้effect แบบนี้

Eastman 200T/5213

รูปนี้เหมือนจะมีแต่เป็นขี้กลากแบบอ่อนๆบางๆ ยังไม่เยอะมาก ซึ่งส่วนตัว ถ้ามาแบบน้อยๆประมาณนี้ ชอบมากๆ เพราะมันดูเป็นเสน่ห์ของฟิล์มแบบนึงที่ ถ้าถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอลไม่สามารถจะทำแบบนี้ได้ ต่อให้จะให้ filter หรือ ให้ai ปรับแต่บน LR/PS ยังยังส่วนตัวก็ยังเชื่อว่า มันต่างกันและแทนกันไม่ได้อยู่ดีครับ

Ilford HP5 Plus 400 [62CHN7X01/01] Expired FEB 2021
Ilford HP5 Plus 400 [62CHN7X01/07] Expired FEB 2021

พอดีรูปสุดท้ายเกิดจาก Back Magazine ของกล้องHasselblad ช่องว่างระหว่างเฟรมขยับห่างขึ้นเรื่องๆ เลยทำให้รูปสุดท้ายถ่ายเกือบไม่ติดครับ

Ilford HP5 Plus 400 [66AHN1C01/02] Expired JUNE 2021
Ilford HP5 Plus 400 [70AHN7X01/01] Expired OCT 2021
Rollei RPX 25

Rollei RPX 25 Expired 08.2023 [382199]

Rollei RPX 100

Rollei RPX 100 Expired 10.2023 [376607]

อันนี้ อันกล่องสีขาว ล็อตสินค้า 723 Expired 03.2024 ล้างด้วยน้ำยา (Develop) D76 (1+3) 20min 20°C

อันนี้ อันกล่องสีดำ ล็อตสินค้า 383889 Expired 07.2024 ล้างด้วยน้ำยา (Develop) D76 (1+3) 20min 20°C

Kodak TMAX100 Expired 06.2017
Fomapan 200
Neopan 100 ACROS II

เจอขี้กลากมาแทบจะทุกยี่ห้อเลย Rollei, Fomapan, Fuji, Kodak, ilford แต่ก็เฉยๆ แค่สงสัย ทำไมกับฟิล์มสีแทบไม่มีขี้กลากให้เห็นเยอะหรือบ่อยเท่าฟิล์มขาวดำ ถ้าใช้เนื้อกระดาษคนละประเภท ทำไมไม่ใช่เหมือนกัน??

Categories
Article

Hasselblad Polaroid Back (HassyPB) ฝีมือคนไทย สำหรับผู้รักในกล้องฟิล์ม

สำหรับคนเล่นกล้องฟิล์มคงจะรู้จักกล้องฟิล์ม Hasselblad อยู่แล้ว คงไม่ต้องมาอธิบายกันเยอะนะครับ เข้าเรื่องเลย Hassy PB คืออะไร มันคือการที่เราเอาฟิล์มโพลารอยด์ (Polaroid) ของค่ายฟูจิฟิล์ม (Fujifilm) คือตัว ฟิล์ม Fujifilm Instax SQUARE ที่เป็นโพลารอยด์สี่เหลี่ยมจตุรัสเหมือนกับฟิล์มที่ถ่ายด้วยกล้องฟิล์มHasselblad เพราะเสน่ห์และเอกลักษณ์ของกล้องฟิล์มยี่ห้อ Hasselblad คือกล้องฟิล์ม Medium Format ใช้ฟิล์มขนาด 120 ถ่ายรูปออกมาเป็น 1:1 หรือคือสี่เหลี่ยมจตุรัส เลยเป็นเหตุผลว่าทำไม Hassy PB ถึงเลือกใช้ฟิล์ม instax ที่เป็น square หาใช่ใช้ฟิล์ม mini หรือ wide

เวลาใส่กับตัวกลักที่ใส่ตัวโพลารอยด์รุ่นเก่า Fujifilm FP-100C ที่ได้เลิกผลิตไปแล้ว

รูปตัวอย่างของจาก Fujifilm Instax จะมี3 ขนาด คือ Mini, Wide , Square

เมื่อก่อนกล้องHasselblad เคยออกตัว Polaroid Back มากับฟิล์มของฟูจิ Fujifilm FP-100C ฟิล์มโพลารอยด์ที่เลิกผลิตไปแล้ว

ตัวฟิล์ม FP-100C เองไม่ใช่ฟิล์มที่สำหรับกล้องHasselblad โดยตรงซึ่งตัวฟิล์มโพลารอยด์จะมีขนาดประมาณ 3.25 X 4.25 Inches ซึ่งภาพที่ได้จะออกมาไม่เต็มแผ่นครับ แต่ยุคสมัยนั้นคนทำงานจะใช้เพื่อการเช็กค่าแสงก่อนจะถ่ายจริงลงบนตัวฟิล์มครับ

โพลารอยด์รุ่นเก่าจะดึงรูปออกด้านข้าง

Hassy PB มาพร้อมกับวัสดุที่มีความคุณภาพ ไม่ใช่แค่กล้องของเล่นอย่างที่เราเห็น ซึ่งเป็นเรื่องความใส่ใจจากทีมพัฒนาเป็นอย่างมาก และทีมที่พัฒนากล้องตัวนี้ก็เป็นฝีมือคนไทย

Hassy PB รุ่น1 และ 2 แถบจับจะอยู่ด้านบน ซึ่งบางคนอาจจะมีตะขิดตะขวง เพราะโพลารอยด์ที่เราคุ้นชิน แถบจับจะอยู่ด้านล่าง และด้วยเหตุผลที่ Hassy PB รุ่น1และ2 ทำออกมาเป็นดีดออกล่างเพื่อที่จะให้ใช้กับตัว Hasselblad Prism Finder (PME45 / 45 Degree) ซึ่งได้ทั้งจะถ่ายโดยใส่ Prism ในการช่วงมองให้โฟกัสหรือถ่ายง่ายขึ้น กว่าใช้ช่องมองแบบปกติ (Waist Level Viewfinder)

Hassy PB รุ่น1 และ 2 สารถมาถ่ายให้แถบจับโพลารอยด์อยู่ด้านล่างแบบที่คุ้นชินได้ โดยการถ่ายกลับหัว ซึ่งถ้าใช้ตัว Prism ก็สามารถถ่ายได้อย่างง่ายดาย

คุณยงยุทธ คะสาวงค์ ผู้เชี่ยวชาญ Hasselblad ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้สร้างและก่อตั้ง คอมมูนิตี้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบกล้อง Hasselblad

” HassyPB ไม่ได้มาแทนฟิล์มและไม่ได้มาแทนดิจิตอล มาเติมเต็มสิ่งเดิมที่มันเคยมี และเป็นความสนุกสนาน แจกรูปถ่ายความทรงจำให้กัน ”

Yongyut John Khasawong

Hassy PB i (First Generation)

Hassy PB รุ่นแรก รุ่นทดลอง เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อราวๆเดือนพฤษภาคมปี2565/May 2022 ในกลุ่มFacebook ที่มีชื่อว่า Uses Hasselblad Thailand โดย อ.ยุทธ์ ผู้สร้างและก่อตั้งคอมมูนิตี้ขึ้นมา ได้ทำการประดิษฐ์ขึ้นมากับทางทีมงาน จากการได้ทดรอเอาชิ้นส่วนบางส่วนของกล้อง Fuji Instax รุ่นSQ6 มาดัดแปลงและเพิ่มบางชิ้นส่วนที่เป็นการสร้างขึ้นมาใหม่เข้าไปครับ ซึ่งตัวกล้องยังมีปัญหาบางส่วนอาธิเช่น ต้องถ่ายที่ f16 ขึ้นไปเท่านั้น ภาพถึงจะโฟกัสเข้า ถ้าใช้ f stop ที่ต่ำกว่านั้น ต้องทำการชดเชยระยะโฟกัส หรือ ที่เรียกว่า Shift Focus เพิ่มเติม เช่น เราหมุนเลนส์กล้องไปโฟกันที่ 1เมตร แต่หลังจากนั้นให้หมุนเลนส์กล้องเพิ่มไปอีก 0.5 ถึง 1 เมตร โดยที่ไม่ขยับตำแหน่งของตัวกล้อง ก็จะทำให้สามารถถ่ายที่ f2 หรือ f stop ที่กว้างๆ ทำให้เกิดหน้าชัดหลังเบลอได้ ตามคุณภาพของตัวเลนส์ครับ

Hassy PB ii (Second Generation)

Hassy PB2 เป็นรุ่นที่ทาง อ.ยุทธ์และทีมงานยังได้หาทางให้ถ่าย f stop เพิ่มจาก f16 ไปที่ f8 ที่สามารถถ่ายได้โดยที่ไม่ต้องทำการ shift focus ครับ เป็นการแสดงออกถึงการเอาใจใส่ของทาง อ.ยุทธ์และทีมงานเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเป็นคนอื่นๆ น่าจะท้อถอยหรือล้มเลิกไปแล้วอย่างแน่นอน

เหตุผลที่ทำไม Hassy PB รุ่น1 และ 2 แถบโพลารอยด์ถึงอยู่ด้านบน เพราะทางทีมงานได้ออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับ hasselblad prism finder (ปริซึมมีไว้ใช้แทนช่องมองภาพแบบ waist level finder ช่วยให้โฟกัสง่ายขึ้นมาก มุมมองเหมือนตาเห็น ภาพไม่กลับซ้ายเป็นขวา) เพราะถ้าให้แถบโพลารอยด์ และดีดขึ้นมันจะติดตัวปริซึม ซึ่งก็ต้องคอยถอดเข้าถอดออก ตัวhassy pbครับ 

Hassy PB iii (Third Generation)

Hassy PB3 จะไม่ต้องทำการ Shift Focus แล้ว ซึ่งเราสามารถถ่าย f2.8 หน้าชัดหลังเบลอได้เลย ยกเว้นรุ่น200 series และแถบโพลารอยด์จะอยู่ด้านล่าง ซึ่งกล้องโพลารอยด์อื่นๆทั่วๆไป ส่วนมากที่เราคุ้นเคยคือ แถบที่จับโพลารอยด์จะอยู่ข้างล่างครับ นอกเหนือจากนั้นยังเพิ่มระบบปิดเปิด กันกรณีฟิล์มโพลารอยด์ลั่นออกมาเพราะเผลอไปโดนปุ่ม แล้วก็ยังมีปุ่มsafety กันแผ่นdark slideหลุดออกโดยไม่ตั้งใจ คร่าวๆที่มีฟังค์ชันดีๆเพิ่มเข้ามาครับ

Hassy PB ใช้งานร่วมกับฟิล์ม Fujifilm Instax SQUARE วัสดุส่วนนึงของตัวอุปกรณ์มาจากกล้องฟิล์มโพราลอยด์ผลิตจากญี่ปุ่น และวัสดุอีกส่วนนึงได้ทำการขึ้นรูปใหม่ด้วยเหล็กและอลูมิเนียมทนทานแข็งแรง ใส่ใจทุกรายละเอียด

Categories
Article

ILFORD ILFOCOLOR RAPID

พอดี เมื่อต้นเดือนได้เดินทางไปต่างประเทศที่ประเทศใต้หวั่นแล้วตอนแรกเห็นกล้องใช้แล้วทิ้งของ ilford แต่มันเขียนว่าเป็นฟิล์มสี ซื้อมาหนึ่งกล่อง ตอนแรกก็คิดว่าว่า ข้างในคงเป็นฟิล์มสีของฟูจิหรือไม่ก็โกดักแหละมั้ง เพราะตอนนั้นยังไม่คิดว่า ilford จะทำฟิล์มสีออกมา และได้ลองเอามาถ่ายดู ก็คิดว่า ilford ทำฟิล์มเองจริงๆ แต่ก็คิดว่า คงแค่เฉพาะกล้องใช้แล้วทิ้งมั้ง ไม่น่าจะทำเฉพาะฟิล์มออกมา จนเมื่อวันนี้ เห็นข่าวในวงการกล้องฟิล์มลงข่าว และมีรูปเฉพาะแค่ฟิล์มอย่างเดียว ที่เป็นฟิล์มสีตัวใหม่ ของ ilford จริงๆ ลองชมรูปตัวอย่างคร่าวๆได้นะครับ อันนี้ถ่ายเมื่อต้นเดือน ก็ไม่ได้รีวิวอะไร ถ่ายกับไฟสตูดิโอ เพื่อต้องการค่าแสงสีที่นิ่งๆ จะได้เห็นโทนสีที่ชัดเจนว่าเป็นยังไง และสแกนโดยไม่มีการปรับสีแต่อย่างใด จะเป็นค่า default เดิมๆของเครื่องสแกน (ซึ่งเครื่องสแกนเหมือนจะติดเขียวหน่อยๆน่ะครับ)

Shooting Equipment

  • Nikon FM2 + AF NIKKOR 50mm f/1.8D

Scan by Fuji Frontier SP-500

ที่มาข่าว Credit https://www.facebook.com/filmplease

BREAKING: New film “ILFOCOLOR” from IIford

ILFORD just releases ILFOCOLOR COLOR FILM 400 Vintage Tone 35mm.

This new film is not made from motion film and different from the film used in ILFOCOLOR RAPID RETRO.

Coming Soon-First Week In July!

ILFORD เปิดตัวฟิล์มสีใหม่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ตัวแรกที่ปล่อยออกมาให้โทนวินเทจเหมือนฟิล์มยุค 1960 สวยงามมากๆ ครับ

ทางผู้ผลิตแจ้งว่าฟิล์มตัวใหม่นี้ไม่ใช่ฟิล์มหนังและเป็นคนละตัวกับที่ใช้ในกล้องใช้แล้วทิ้ง ILFOCOLOR RAPID RETRO ครับ

ฟิล์มรุ่นใหม่ตัวนี้เตรียมวางจำหน่ายต้นเดือนนี้ครับ และแน่นอนว่า Ilford จะเปิดตัวฟิล์มสีมาเพิ่มอีกหลายตัวครับ ❤️🥰

Categories
Article

New Fuji 200 vs Kodak Gold 200

ฟิล์มถ่ายรูป Kodak Gold 200 เป็นฟิล์มเนกาทีฟ ความเร็วปานกลางของแสงตอนกลางวัน ให้การผสมผสานที่หลากหลายของความอิ่มตัวในสีที่สดใส เม็ดสีละเอียด มีความคมชัดของภาพสูง มีความไวเล็กน้อย ISO 200 เหมาะสำหรับถ่ายทั่วไป กลางวันก็ได้ เย็นๆก็ดี ถูกพัฒนามาอย่างยาวนาน ให้ภาพคมชัดและสีเหมือนจริงมาก

ฟิล์ม Fuji 200 ยังไม่แน่ชัด เพราะมีรายงานมาว่าการผลิตเป็นคนละแบบกับ Fuji C200 แบบดั้งเดิม และโทนสีออกไปเหมือนกับ Kodak Gold 200 ด้วยครับ ทางเราจึงได้ขอลองพิสูจน์แบบชัดๆตรงๆโดยการถ่ายด้วยกล้องและเลนส์ตัวเดียวกันในสภาพแสงเดียวกันเพื่อลดความเสี่ยงในสภาพแสงที่ไม่นิ่งให้น้อยที่สุดและทำการล้างสแกนพร้อมกัน น้ำยาเครื่องล้างและเครื่องสแกนตัวเดียวกัน แบบไม่ปรับแต่งใด เป็นยังไงไปลองชมกันครับ

สืบเนื่องมาจากได้ข่าวมาว่าเหมือนค่ายฟูจิไม่ได้ทำการผลิตฟิล์มเองแล้วสำหรับตัว Fuji 200 ตัวใหม่ เพราะโทนสีมันออกมาเหมือนกับ Kodak Gold 200 ไม่มีผิด ซึ่งเป็นยังไงลองชมดูครับ

Canon EOS 300 + Canon EF 85mm F/1.8 USM

Fuji 200 (New)

Scan by Fuji Frontier SP 500

Canon EOS 300 + Canon EF 85mm F/1.8 USM

Kodak Gold 200

Scan by Fuji Frontier SP 500

สรุปส่วนตัวแบบคร่าวๆนะครับ จากที่ได้ถ่ายเอง ล้างเอง สแกนเอง โดยใช้เลนส์และกล้องบอดี้ตัวเดียวกัน จัดไฟถ่ายแบบที่เราพยายาม ลดค่าความผิดพลาดอย่างความต่างของแสงให้น้อยที่สุดเท่าที่พอจะทำได้ โดยการถ่ายในสตูดิโอ และสแกนเครื่องสแกนถึง2เครื่อง โดยไม่มีการปรับแสงสีแต่อย่างใด เหมือนฟิล์ม Fuji 200 ตัวใหม่ โทนจะออกไปทางอมเหลืองค่อนข้างจะมากกว่า Kodadk Gold 200 ซะด้วยซ้ำครับ เพราะปกติแล้วถ้าเป็นคาแรคเตอร์ของ Fuji C200 โทนจะไม่ติดเหลืองหรืออมเหลืองขนาดนี้ จะค่อนข้างหนักไปทางเขียวซะมากกว่าด้วยซ้ำครับ

Canon EOS 300 + Canon EF 85mm F/1.8 USM

Scan by Fuji Frontier SP 3000

สังเกตุจากเครื่องสแกน Fuji Frontier SP-500 ที่ตัวSensor ของเครื่องสแกนเครื่องนี้จะติดเขียว เวลาสแกน Kodak Gold 200 เหมือนSensor ของเครื่องสแกนยังกลบคาแรคเตอร์ของตัวฟิล์มไปเลย แต่พอสแกนกับตัว Fuji 200 สรุปคือยังอมเหลือง นั้นก็หมายความว่า Fuji 200 ติดโทนเหลืองค่อนข้างเยอะกว่า Kodak Gold 200 ซะด้วยซ้ำครับ

Canon EOS 300 + Canon EF 85mm F/1.8 USM

Scan by Fuji Frontier SP 500

แต่พอมาสแกนอีกเครื่องเป็น Fuji Frontier SP-3000 รูปค่อนข้างจะเหมือนกันมากจริงๆ เพราะตัวSensor ของเครื่อง SP-3000 เท่าที่ใช้งานมาจะไม่มีติดเขียว แต่จะออกไปทางติดแดงหน่อยๆ ซึ่งก็จะเหมือนกันร้านล้างสแกนฟิล์มร้านอื่นๆอีกหลายๆร้าน ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นปกติตามความเก่าของเครื่องสแกนครับ ซึ่งพอได้ดูรูปบอกเลยเหมือนกันมาก แทบจะไม่ต่าง ถ้าไม่บอกคิดว่าน่าจะเป็นตัวเดียวกันซะด้วยซ้ำ

ดังนั้นเดาว่า Fuji น่าจะไม่ได้ทำการผลิตฟิล์มเองแล้ว(มั้ง) โดยน่าจะจ้างทางKodakผลิตให้แทน เพราะจาก Code ที่ตัว Negativeของฟิล์มFuji เองสังเกตุว่า Codeเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นรุ่น C200 และกล่องใหม่ก็ไม่มีคำว่า Cแล้ว เป็น Fuji 200 เฉยๆ

Fuji C200

Fuji 200 (NEW)

Categories
Article

Noritsu VS Fuji Frontier

ส่วนตัวสรุปแบบคร่าวๆนะครับ เครื่องสแกน Noritsu จะได้ไฟล์ที่ขนาดใหญ่กว่าและภาพจะไม่ถูกcrop และภาพจะดูคมกว่า ยิ่งเป็นฟิล์มขาวดำ จะยิ่งออกมาดูดำสนิท ต่างกับ Fuji ที่ภาพจะไม่ดำสนิทเท่าไหร่ แต่ Noritsu ภาพจะดูค่อนข้างออกไปทางดิจิตอล จะไม่เหมือน Fuji ที่ยังคงมีความรู้สึกกลิ่นไอของความเป็นฟิล์มกว่าหน่อยๆครับ .. สุดท้ายแล้วแต่ละคนชื่นชอบและการใช้งานนะครับ

Noritsu LS 600

Fuji Frontier SP-500

Noritsu LS 600

Noritsu HS 1800

Film : ฟิล์มหนัง Kodak IMAX 250D

Len : Carl Zeiss 80/2.8 C Planar Synchro Compur

Camera Body : Hasselblad 500c/m

Fuji Frontier SP-3000

Film : ฟิล์มหนัง Kodak IMAX 250D

Len : Carl Zeiss 80/2.8 C Planar Synchro Compur

Camera Body : Hasselblad 500c/m

Categories
Article

Nikon FM2

กล้อง Nikon FM2 เป็นกล้อง pure mechanic ทำงานได้ โดยไม่ต้องพึ่งระบบไฟฟ้า ถ่านที่ใส่มีไว้สำหรับระบบวัดแสงเท่านั้น เป็นกล้องยี่ห้อแรกๆ ที่ทำความเร็วชัตเตอร์ได้ถึง 1/4000 วินาที ซิงค์แฟลชที่ 1/250 วินาที ตัวนี้ม่านเป็นแบบเรียบ เบา พร้อมใช้งาน

กล้องฟิล์มระบบเป็นกลไกล ที่ดีและทันสมัยที่สุด กล้องที่ถือว่าอยู่ในจุดสูงสุดที่กล้องกลไกลจะทำได้ ในยุคนั้น FM2 ถือว่าเป็นกล้องที่โปรกล้องหลายๆ คนต้องมีใช้ ด้วยความเร็ว Speed Shutter สูงสุดที่ 1/4000 วินาที ที่ไม่มีกล้องกลไกลตัวไหนทำได้ เนื่องจากการออกแบบ ม่านชัตเตอร์ให้เปิดปิดในแนวตั้ง นับว่าเป็น นวัตกรรมใหม่ ที่เป็นต้นฉบับของกล้อง Nikonในปัจจุบันเลยทีเดียว FM2 เป็นกล้องที่ใช้งานที่ หลายๆ คนถามหากัน เป็นกล้องที่ ครบครันไปด้วย Function การใช้งาน ผู้ใช้ทุกคนจะรู้จักเป็นอย่างดี ไม่ว่าความ แข็งแรงทนทาน ความคลาสสิค

AF NIKKOR 50 มม. f/1.8D เป็นเลนส์ไพรม์ที่ใช้งานได้หลากหลายและมีราคาย่อมเยา ให้การแสดงภาพที่เป็นธรรมชาติและความคมชัดที่เหนือชั้น มีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักที่เบามาก โดยมีน้ำหนักเบาเพียงประมาณ 155 กรัม ทำให้เลนส์สะดวกต่อการพกพาสำหรับการถ่ายภาพเกือบทุกโอกาส

Silberra Color 50

CineStill 50D

CHAMELEON 100 (Film Never Die)

KODAK EKTACHROME 100D Color Reversal Film / Eastman 5294 [Develop by C-41 (Cross Process)]

Kodak Pro Image 100

Silberra Color 100

Fujicolor Industrial 100 / Fuji Japan 100

Silberra Color 160

Kodak Portra 160

Film Never Die : Sora 200

(Eastman Kodak 250D VISION3 5207)

Kodak Color Plus 200

Kodak Gold 200

Fuji Premium 400

Kodak Portra 400

VIBE 400

NEVO FILM 400

YAMA 400

Ninoco 400

FOTO FILM 400

NoMad 400

Escula Vintage 400

Escura DragonballZ 400

Showa Camera Film 400 [ESCURA]

Lomography Lomochrome Metropolis XR 100-400

Lomography LomoChrome Purple XR100-400

Lomography Lomochrome Turquoise XR100-400

LomoChrome Color ’92

Shanghai Light 400

Yashica 400

Yashica Golden 80s (400)

WOLFEN COLOR NC400

WOLFEN COLOR NC500 (EI ISO 400)

KODAK VISION3 500T/5219

Film Never Die : Umi 800

Kodak Vision 3 500T [5219]

CineStill 800T