Categories
Article

Film Tips #9 : การเก็บรักษาฟิล์มที่ยังไม่ได้ถ่าย

การเก็บรักษาฟิล์มอยากให้ใช้ได้นานๆ ต้องเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13องศา หรือ ในตู้เย็นช่องธรรมด

แต่ถ้าจะใช้ภายในไม่กี่วันไม่กี่เดือน ก็ไม่จำเป็นต้องแช่ในตู้เย็นนะครับ

ยกเว้นฟิล์มที่กำลังจะหมดอายุ ถ้ารีบเอาแช่ตู้เย็นไว้ โอกาสที่ฟิล์มนั้นจะยังถ่ายติดชัดสวยเหมือนฟิล์มใหม่ จะมีสูงกว่าครับ แต่ถ้าฟิล์มหมดอายุมาก่อนแล้ว ประมาณว่า คนขายไม่ใช้เก็บในอุณหภูมิที่ต่ำหรือในตู้เย็น ซึ่งพอเราได้มาแล้ว แล้วเอาไปแช่ตู้เย็น อาจจะไม่ค่อยช่วยอะไรมากนักครับ

Categories
Article

Film Tips #8 : เครื่องสแกนกับฟิล์มขาวดำ

เครื่องสแกนของ Fuji Frontier แทบทุกเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น SP-500 , SP-2000 และ SP-3000 เวลาสแกนฟิล์มขาวดำ ไม่ว่าจะฟิล์มขาวดำแบบปกติ หรือ ilford XP2 เป็นฟิล์มขาวดำล้าง Cross Process ด้วยน้ำยาฟิล์มสี C-41 เวลาสแกน รูปจะไม่ดำสนิทครับ เท่าที่ลองดูเทียบดูเองน่ะครับ ซึ่งต้องมาปรับให้ดำสนิทผ่าน Program ต่างๆ เช่น Photoshop/Light room. ยกเว้น เครื่องสแกนของ Norisu เท่าที่ลองมาแล้ว รูปออกมาดูขาวดำ ค่อนข้างดีกว่า เครื่องสแกนของ Fuji Frontier

รูปตัวอย่างสแกนฟิล์มขาวดำกับเครื่อง Fuji Frontier SP-500

รูปตัวอย่างสแกนฟิล์มขาวดำกับเครื่อง Noritsu LS1100

Categories
Article

Film Tips #7 : วิธีดูฟิล์มถ่ายแล้วหรือยังไม่ถ่าย ก่อนส่งล้าง

ถ้าใช้กล้องแบบ โหลดฟิล์ม อัตโนมัติ ค่อนข้างชัวร์ว่ากลักที่ไม่มีหางฟิล์ม คืออันที่ใช้แล้ว แต่ถ้าใช้กล้องแบบกรอเอง (กรณี ชอบกรอให้เหลือหางฟิล์ม ไว้) ลองดูที่ปลายหางฟิล์ม ถ้าไม่มีรอยพับอันนั้นน่าจะยังไม่ใช้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรกรอให้หมดเลยจะปลอดภัยมากกว่านะครับ

Categories
Article

Film Tips #6 : วิธีดูฟิล์มถ่ายติดไม่ติด

สำหรับคนที่พึ่งเริ่มถ่ายรูปฟิล์ม แต่ยัง งงๆ ไม่ค่อยเข้าใจว่า เวลาเราถ่ายรูปแล้วเอาฟิล์มไปล้างออกมา ทำไม บางทีฟิล์มมันใส หรือ ทืบ(สีดำ) มันเกิดจากอะไร ก็จะอธิบายแบบคร่าวๆ ภาษาชาวบ้านๆ ง่ายๆ ไม่มีศัพท์เป็นทางการหรือทฤษฎีอะไรให้ซับซ้อนนะครับ เพราะส่วนตัวเองก็หัวไม่ค่อยดีเหมือนกัน ฮ่าๆๆๆ ฟิล์มที่โดนแสงเวลาล้างออกมาแล้วจะเป็นสีดำ แบบทึบแสงสังเกตุจากส่วนที่เป็นหัวม้วน ฟิล์มที่ถ่ายติดปกติก็จะมีรูปขึ้น ตามรูป แต่ในรูปตัวอย่าง คือฟิล์มไม่เดิน เลยทำให้ฟิล์มถูกถ่ายซ้อนไปซ้อนมา กรณีล้างฟิล์มออกมาแล้วฟิล์มใส แต่ถ้าโค้ดตรงรูหนามเตยช่วงขอบบนกับล่างของฟิล์มขึ้นปกติ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ขั้นตอนการล้างฟิล์ม จะไม่ใช่ความผิดของทางร้านล้างสแกนฟิล์ม ให้สันนิษฐานได้เลยว่า

1.กล้องถ่ายไม่ติด สาเหตุอาจจะมาจาก ม่านซัตเตอร์ หรือ รูรับแสง ในตัวกล้องไม่ทำงาน

2. ลืมเปิดฝาหน้าเลนส์กล้อง แล้วลองเช็กกล้อง หรือ เอาไปให้ร้านซ่อมตรวจดูครับ

Categories
Article

Fim Tips #5 : วิธีล้างฟิล์มขาวดำ

วิธีล้างฟิล์มขาวดำเองแบบบ้านๆ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีดังนี้

1. ชุดน้ำยาล้างฟิล์มขาวดำ ปัจจุบัน เหมือนจะเหลือไม่กี่ยี่ห้อ เช่น Kodak D76, Kodak TMAX , Cinestill Df96 (ซึ่งอันนี้จะเป็น Monobath คือล้างแค่น้ำยาตัวเอง แต่คุณภาพก็ไม่ค่อยจะโอเคสักเท่าไหร่ ข้อดีของตัวนี้คือเร็ว) และ ilford (DDX, ilfosol3)

2. ถุงมืดและที่ดึงฟิล์ม เพื่อดึงฟิล์มออกมาจากกลักและโหลดฟิล์มใส่ในแท้งก์ในถุงมืด เพราะฟิล์มห้ามโดนแสงเลย แสงสลัวๆ ก็ไม่ได้

3. อุปกรณ์แท้งก์ล้างฟิล์ม หลักๆที่คนใช้กันก็จะมี2ยี้ห้อ คือ Paterson และ JOBO แต่ก็มีแบรนด์ใหม่เพิ่มมาอีกเจ้าของ Lab box (ซึ่งตัวนี้ ส่วนตัวก็มีซื้อมาลองใช้แล้ว ถ้าล้างแต่ละครั้งไม่บ่อย แค่ม้วนเดียว นี่แนะนำเลยครับ ล้างง่าย ล้างที่ไหนก็ได้ สะดวก แต่ถ้าล้างหลายๆม้วน ไม่ค่อยแนะนำครับ)

4. ถ้วยตวง หรือ บิกเกอร์ ขนาดสัก 500ml ก็พอกำลังดี เพราะล้างฟิล์ม 1ม้วน และใช้ตัว Lab box จะใช้น้ำยา 250-300ml ห้ามใส่เกิน เพราะมันจะล้นครับ

5. น้ำแข็ง จะต่างกับเล่มที่3 ที่ฟิล์มสีต้องการน้ำอุ่น 39องศา ต้องใช้เครื่องทำน้ำอุ่น (ซู-วี) แต่ของฟิล์มขาวดำจะเป็นน้ำเย็น 20องศา

6. เทอร์โมมิเตอร์ สัก ๅอัน หรือ 4อัน ตามจำนวนน้ำยาเลยก็ดีครับ

7. ฟองน้ำ pva ไว้รูดเช็ดฟิล์ม กับ ตัวหนีบ ไว้ตากแขวนฟิล์ม และ ตู้เสื้อผ้าที่ตากฟิล์มข้างในกันฝุ่น ถ้าไม่ซีเรียสก็ตากในห้องน้ำเลยก็ได้

ขั้นตอนการล้างหลักๆตามนี้

1. Developer น้ำยาสร้างภาพ (อันนี้ แต่ละฟิล์มจะใช้เวลาไม่ค่อยเท่ากัน ให้ดูได้จากด้านในกล่องกระดาษของฟิล์มที่เราซื้อมา)

2. Stop baht (น้ำยาหยุดสร้างภาพ) 1 min.

3. Fixer(น้ำยาคงสภาพ) 5 min.

4. Washaid หรือ Hypo Clearing(น้ำยาขจัดคราบ) 2 min.

5. Final wash(น้ำเปล่า) 10.30 min.

6. Ilfotol (น้ำยาไล่คราบน้ำ) 30 sec. (อันนี้แล้วแต่ใส่ก็ได้ ไม่ใส่ก็ได้ครับ) เทน้ำยาแต่ละอย่างตามอัตราส่วนที่เรากำหนดไว้ ใช้น้ำยา+น้ำเปล่า รวมเป็น 500ml สำหรับล้างฟิล์ม2ม้วน และใช้น้ำยาของ ilford ซึ่งน้ำยาแต่ละตัวก็ผสมไม่เท่ากัน

– Devolop 1+9 = น้ำยา50ml+น้ำเปล่า450ml

– Stop bath 1+19 = น้ำยา25ml+น้ำเปล่า475ml

– Fixer 1+4 = น้ำยา100ml+น้ำเปล่า400ml

– Washaid 1+4 = น้ำยา100ml+น้ำเปล่า400ml

ปล. ปริมาณน้ำยา เวลา อุณหภูมิ, การคน, การเขย่า, ส่งผลต่อภาพบนเนกาทีฟทั้งนั้น เช่น เกรนและคอนทราสต์

ปล2. เวลาในการล้างฟิล์มจะประมาณ ครึ่งชั่วโมง ต่อครั้ง ก็ไม่นานมากครับ ถ้าคล่องแล้วจะรู้สึกชิวมาก ดูหนังฟังเพลงไปด้วยก็ยังได้ครับ

Categories
Article

Film Tips #4 : 135 film on 120 camera

วิธีใส่ฟิล์ม 135 กับกล้องHasselblad 120 หาซื้อตัวแปลง ราคาอยู่ราวๆ ร้อยกว่าบาทครับ

ดึงฟิล์มมาพันกับ แกนเปล่า 120 อีกด้านครับ พันแกนให้พอประมาณเพื่อให้แน่ใจว่าฟิล์มจะไม่หลุดจากแกนระหว่างถ่ายอยู่ครับ และพอถ่ายหมด ต้องหาถุงมืด แกะตัวแมก แล้วค่อยๆ กรอฟิล์มกลับเข้ากลักเดิมครับ

วิธีถ่ายไปเรื่อยๆเลยครับ เพราะถ้าเรากรอมาให้เริ่มที่ 1 ช่วงต้นม้วน จะไม่ถูกถ่ายครับ ผมถ่ายไปเรื่อยๆ จนพอหมดม้วน เราจะรู้สึกเองครับว่า กรอไปต่อไม่ได้ มันจะตึงๆ จากที่ลองใช้มาทั้ง 3back A12/A16 ถ้าเริ่มถ่ายเลย ไม่ตามตัวเลข จะไปจบที่ 12/16 เลยครับ โดยที่ถ้าใช้ฟิล์มแบบ36รูป ฟิล์มจะยังไม่หมดม้วน และเราหมุนต่อไม่ได้แล้ว แต่ถ้าใช้ฟิล์มแบบ24หรือ27รูป จะได้หมดม้วนพอดีสำหรับ back A12/A16 ส่วนตัว A24 ถ่ายไปเรื่อย ตั้งแต่ยังไม่ขึ้นเลข1 จนไป เริ่มเลข 1 และ มันจะไปหมดม้วนที่เลข24 ของตัว back พอดี ถ้าตอนช่วงพันแกนไม่พันเยอะไปนะครับ แต่ถ้าเราพันเยอะไปหน่อย แบบกลัวมันหลุดฟิล์มไม่เดิน ตัวเลขจะไปจบที่ราวๆ 16-17 ครับ และจะหมดม้วนพอดี อันนี้สำหรับฟิล์ม 36รูปครับ

ตัวอย่างรูปจาก Hasselblad Back A12 หรือ A24

สองตัวนี้จะเหมือนกัน ต่างกันแค่ A12 ถ่ายไม่หมดทั้งหมด ส่วน A24 จะถ่ายได้หมดม้วนครับ

Categories
Article

Film Tips #3 วิธีล้างฟิล์มหนังเอง

วิธีล้างฟิล์มหนังเองแบบบ้าน (อันนี้เป็นวิธีการล้างด้วยน้ำยาฟิล์มสี C41 นะครับ หรือเรียกว่าล้างCross Process ไม่ใช่ล้างตรงโดยใช้น้ำยาของฟิล์มหนังเองที่เรียกว่า ECN2) อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีดังนี้

1. ชุดน้ำยาล้างฟิล์มสี ก็จะมีหลากหลายยี้ห้อแตกต่างกันไป เช่น Tetenal C41 , Digital Base C41 (Rollei) , Cinestill Cs41 ฯลฯ

2. ถุงมืดและที่ดึงฟิล์ม เพื่อดึงฟิล์มออกมาจากกลักและโหลดฟิล์มใส่ในแท้งก์ในถุงมืด เพราะฟิล์มห้ามโดนแสงเลย แสงสลัวๆ ก็ไม่ได้

3. อุปกรณ์แท้งก์ล้างฟิล์ม หลักๆที่คนใช้กันก็จะมี2ยี้ห้อ คือ Paterson และ JOBO

4. ภาชนะต่างๆ เช่น ขวดน้ำเปล่า ไว้ใส่น้ำยา แนะนำหาขนาดสัก 550-600ml จะกำลังดี เพราะล้างฟิล์ม 1-2ม้วน จะใช้น้ำยา 250-500ml และ ถังหรือกาละมังใส่น้ำ ไว้แช่ขวดพลาสติก

5. เครื่องทำน้ำอุ่น แนะนำไม่ต้องหาซื้อถ้าที่บ้านมีเครื่อง ซู-วี นั่นแหละครับ ใช้ได้เลย

6. ฟองน้ำ pva ไว้รูดเช็ดฟิล์ม กับ ตัวหนีบ ไว้ตากแขวนฟิล์ม และ ตู้เสื้อผ้าที่ตากฟิล์มข้างในกันฝุ่น ถ้าไม่ซีเรียสก็ตากในห้องน้ำเลยก็ได้ การล้างฟิล์มสีจะต้องใช้อุณหภูมิ 38-39°C ต่างกับฟิล์มขาวดำที่จะต้องใช้อุณหภูมิ 20 ส่วนน้ำยาที่ใช้ทั้งฟิล์มสีและขาวดำ จะมีประมาณทั้งหมด3-5ตัว ก็คือ

– Developer หรือ CD ทำหน้าที่สร้างภาพให้มันขึ้นบนฟิล์ม

– Bleach ทำให้ฟิล์มมันหยุดทำปฏิกิริยา และ Fix ทำหน้าที่ขัดเกลาฟอกฟิล์มโน่นนั่นนี่และ (น้ำยาบางยี้ห้อจะรวม Bleach กับ Fix เป็นตัวเดียวกัน คือ Blix หรือ BF)

– Stabilizer หรือ STAB ทำหน้าที่เคลือบให้ฟิล์มมีอายุยืนยาว

ถ้ากรณีเป็นฟิล์มสีที่เป็นฟิล์มหนัง ซึ่งฟิล์มชนิดนี้จะมีสารคาร์บอนอยู่ ต้องใช้ Baking Soda (เบกิ้งโซดา 3ช้อน ต่อ น้ำ 500ml) หรือ น้ำยา Developer แบบไม่ต้องทำอุณหภูมิ (น้ำเย็นปกติ) เขย่าสัก 3-5นาที แล้วเทออก และล้างน้ำเปล่าหนึ่งรอบ แล้วค่อยเริ่ม ใส่น้ำยาตัว Developer , Bleach , Fix และ Stab ตามลำดับ

เวลาการล้างฟิล์ม

CD 3:30min // BF 4:00min // Stab 1:00min

น้ำยาแต่ละตัว ก็จะใช้เวลาไม่เท่ากัน แนะนำดูคู่มือในกล่องน้ำยาอีกทีนะครับ

Categories
Article

Film Tips #2 วิธีดูว่าเนกาทีฟฟิล์มหนังว่าฟิล์มอะไร

วิธีดูว่าเนกาทีฟฟิล์มหนังว่าฟิล์มอะไร iso เท่าไหร่ ส่วนตัวก็พึ่งจะรู้เหมือนกันฮ่าๆ ก็แบบว่าถ่ายฟิล์มหนังมาก็หลายม้วน ล้างเองแทบตลอด แต่ก็ดูไม่เป็นและมองหาไม่เคยจะเห็น ไม่เหมือนกับฟิล์มสีปกติของ Kodak/Fuji/AGFA/Konica ฯลฯ ที่จะมีบอกชื่อเรียงซ้ำๆเป็น10คำ และเรื่องมันเกิดจาก เมื่อถ่ายฟิล์มหนังมารอบล่าสุด และเบกิ้งโซดาก็หมด (สำหรับคนยังไม่รู้ว่าเบกิ้งโซดาใช้ทำอะไร คือผมเอาไว้ใช้ล้างตัวคาร์บอนของฟิล์มหนังออกก่อนครับ

เพราะฟิล์มหนังจะมีสารคาร์บอนเคลือบอยู่อีกชั้นจะต่างกับฟิล์มสีปกติครับ) บวกกับมีความขี้เกียจล้างฮ่าๆ อันนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญเลยแหละ ><” เลยส่งร้านล้างสแกนไปง่ายๆสะดวกสบาย และพอได้รับไฟล์กับทางร้านเท่านั้นละ งง บวกกับตัวเองก็ลืมจดด้วยว่าฟิล์มอะไรถ่ายอะไร จดแค่คร่าวๆ ว่าฟิล์มตัวไหนตัวที่ส่งล้างไป และ2ม้วนก็ถ่ายมาได้หลายอาทิตย์ละ คือ ลืม ว่าม้วนไหนถ่ายก่อนถ่ายหลัง พอไปรับฟิล์มเนกาทีฟที่ร้าน ก็มานั่งดู รูปนี้ฟิล์มตัวไหน งม อยู่นานกว่าจะหาเจอ เพราะชื่อตัวเล็กมาก อีกทั้ง ทั้งม้วน เหมือนจะมีแค่ 1-2จุดเองด้วย.

ตัวอย่างแบบนี้เป็นต้น

KODAK VISION3 500T = 5219
KODAK VISION3 250D = 5207
KODAK VISION3 200T = 5217
KODAK VISION3 50D = 5203

Categories
Article

Film Tips #1 เขียนข้อมูลลงบนกลักฟิล์ม

เขียนข้อมูลลงบนกลักฟิล์มยังไง? ให้กลักฟิล์มยังสวย! แนะนำเพื่อเป็นประโยชน์ กรณีที่เราถ่ายรูปด้วยกล้องหลายตัว แล้วเวลาเซฟไฟล์ลงคอม เกิดอยากจะจัดความเป็นระเบียบว่า ฟิล์มตัวไหน กล้องอะไร ถ้าเขียนลงบนกลัก ก็คงจะไม่พอ ใช้วิธีผมก็ได้นะ ดึงฟิล์มออกมาเอง และเขียนบริเวณส่วนหัวฟิล์ม ซึ่งส่วนนี้ จะถูกตัดออกก่อนเข้าเครื่องล้างอยู่ล่ะ และ เป็นส่วนที่โดนแสงอยู่แล้ว ไม่มีรูปด้วย สามารถเขียนได้หมดเลย ว่ากล้องอะไร เลนส์อะไร หรือ ต้องการ push/pull ดีกว่า จะเขียนลงบนกลัก บางทีกลักสวยๆ แปลกๆยากๆ แทนที่จะเก็บสวยๆ ก็ต้องมีรอยหมึกบนกลักหมดความสวยงามไป