Categories
Article

Konica K-Mini

Compact Camera ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา แล้วแถมยังใช้งานง่ายมาก กดถ่ายอย่างเดียวสไตล์ Point&Shoot ชัดทั้งภาพตั้งแต่ระยะหลัง 1 เมตร โดยประมาณ ไม่มีฟังก์ชันอะไรสักอย่าง บางรุ่นมีแค่ปั้มวันที่ แต่ส่วนมากก็จะปั้มปีได้ถึงแค่ 2018 ซึ่งก็ไม่ค่อยมีประโยช์นเท่าไหร่

สืบเนื่องจาก ด้วยความอยากรู้ ว่าฟิล์มแต่ละฟิล์ม แต่ละยี่ห้อ มันต่างกันยังไง ซึ่งพูดตรงๆ ทุกวันนี้ก็ดูไม่ค่อยจะออกหรอก ดูออกแค่ มันออกไปเหลืองหรือฟ้า ก็แค่นั้น .. รูปไหนใช้ฟิล์มอะไรผมได้เขียนไว้มุมขวาล่างทุกรูปแล้วนะครับ .. จะทะยอยๆ Test อีกเรื่อยๆครับ ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวเองนี่แหละ อยากรู้ 555+ .. เหตุผลที่ใช้กล้อง Konica ตัวนี้ คือส่วนตัวชอบอยู่แล้ว เพราะมันเป็นกล้องที่ ไม่ต้องทำอะไร คือกดอย่างเดียว ><” Flash ออกตามที่กล้องมันวัดค่า Speed Shutter รูรับแสง F Stop ก็ออโต้ล้วนๆ โฟกัสก็ด้วย หลายรูปเลย บทจะให้ชัดตรงนี้ก็ไม่ชัด ดันไปชัดตรงอื่น -..-”

Kodak Pro Image 100

Lomography 100

Fuji Industrial 100 / Fuji Japan 100

Kodak Portra 160

Kodak Gold 200

Kodak Color Plus 200

Fuji X-Tra 400

Kodak Portra 400

Fuji Premium 400

Lomography 400

Kodak Ultramax 400

CineStill 800T

Categories
Article

โหลดฟิล์มขึ้นเครื่อง

ฟิล์มห้ามโหลดในกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ ที่เราโหลดใต้ท้องเครื่องครับ เพราะเครื่อง x-ray ที่สแกนกระเป๋าสำหรับโหลดใต้ท้องเครื่อง มันส่งผลให้ฟิล์มเสียหาย แต่กรณี ใส่ในกระเป๋า แบบ carry on ขึ้นบนเครื่องวางไว้ใต้เบาะหรือบนหัวที่นั่ง เครื่อง x-ray ก่อนขึ้นเครื่อง หลายประเทศยังไม่ทำให้ฟิล์มเสียหาย เท่าที่เคยลองมาแล้วนะ มี1-2รอบ ที่ฟิล์มถ่ายมาเยอะ ปกติจะใส่ในถุงกัน x-ray แต่เหมือนรอบนั้นฟิล์มเยอะ ยัดใส่ไม่หมด ก็ x-ray ปกติ กลับมาก็ล้างปกติ (ยกเว้นประเทศอเมริกา ที่ต้องเช็กเครื่องดีๆเพราะเหมือนว่าจะใช้เครื่องรุ่นใหม่ ที่ส่งผลสร้างความเสียหายกับฟิล์มแล้วบางจุดตรวจ)

หรือถ้ามีเวลาบางคนก็จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจฟิล์มเช็กด้วยมือแล้วไม่เอาเข้าเครื่อง แต่ส่วนมากเวลาจะเร่งและเจ้าหน้าที่ส่วนมากจะไม่ยอมตรวจและจะให้เอาฟิล์มเข้าเครื่อง x-ray อย่างเดียวเลย เลยอยากจะแนะนำว่าถ้าอยากเซฟฟิล์มของเรา ลองลงทุนซื้อถุงกันรังสี x-ray หน่อยก็ได้ครับ

Categories
Article

ล้างฟิล์มขาวดำด้วยกาแฟ Caffenol Developing

ล้างฟิล์มขาวดำด้วยกาแฟ Caffenol Developing สูตร caffenol ที่ใช้จะมีส่วนผสมแค่ 3 อย่างคือ

  • ผงกาแฟสำเร็จรูป
  • โซดาแอซ
  • วิตามินซีผง

การเตรียมส่วนผสม

  • น้ำอุณหภูมิห้อง 375 ml
  • ผงกาแฟ 6ช้อนชา
  • โซดาแอซ 3 ช้อนชา กับอีก 1/2 และ1/4 ช้อนชา
  • วิตามินซีผง 1/2ช้อนชา และ 1/4 ช้อนชา

ผสมจนละลายเข้ากันหมด แล้วทำการลดอุณหภูมิให้อยู่ที่ 20 องศา หลังจากนั้นใส่น้ำยา caffenol ลงในแทงค์ โดยที่นาทีแรกเขย่าตลอดเวลา หลังจากนั้นให้เขย่าทุกๆ นาที ประมาณ 10วินาที จนครบ 11 นาที เมื่อครบ11 นาทีแล้วให้ล้างฟิล์มด้วยน้ำสะอาด ล้างหลายๆรอบก็ได้ จนแน่ใจว่า เศษกาแฟออกหมดแล้ว เพื่อที่เวลาใส่น้ำยา Stop Bath , Fixer , Hypo Clearing จะได้เก็บไว้ใช้อีกได้ หรือถ้าต้องการจะทิ้งก็ไม่ต้องสนใจตรงนี้ครับ ขั้นตอนเวลา Stop Bath 1นาที, Fixer 5นาที และ Hypo Clearing 2นาที ใช้เวลาเดียวกับการล้างฟิล์มขาวดำด้วยน้ำยาปกติ หลังจากนั้นก็ล้างน้ำเปล่า แล้วเอาฟิล์มไปตาก

Categories
Article

วิธีจัดการฟิล์ม120ก่อนส่งล้างแบบง่าย

วันนี้จะมีแนะนำอีกหนึ่งวิธีสำหรับคนถ่ายฟิล์ม 120หรือ กล้อง Medium Format ครับ โดยปกติ เวลาเราถ่ายฟิล์มเสร็จ ส่วนมาก ของฟิล์มจะมีกระดาษมาให้ มีทั้งแบบกาวที่ต้องใช้น้ำทาลงก่อนเพื่อให้กาวทำงาน คล้ายเวลาเราติดสแตมป์หรือซองจดหมายน่ะครับ หรือ บางยี่ห้อของฟิล์มก็จะเป็นเหมือนสติ๊กเกอร์ให้ลอกแล้วติดไปเลย อันนี้ก็สะดวกขึ้นหน่อย แต่วันนี้จะมีแนะนำอีกวิธีที่น่าจะง่ายทั้งคนถ่ายและร้านล้างฟิล์มในการแกะฟล์มใส่ตลับในถุงมืดก่อนเอาเข้าเครื่องหรือแทงค์ล้างฟิล์ม คือ ‘หนังยาง’ นี่แหละครับ ไม่ต้องเปิดแมสมาเลียกระดาษในช่วงสถานการณ์โควิดแบบนี้ด้วย หรือถ้าป็นแบบสติ๊กเกอร์บางทีจะช่วยร้านล้างฟิล์มในการแกะได้ง่ายขึ้นครับ แต่วิธีนี้ ก็ยังมีข้อเสียนิดหน่อยนะครับ คือ อาจจะดึงตัวกระดาษที่พันฟิล์มอยู่ให้แน่นๆสักหน่อยแล้วค่อยรัดหนังยาง เพราะบางที่ถ้ากระดาษไม่แนบชิดกับแกนอาจจะมีแสงรั่วบ้างนิดหน่อยครับ

Categories
Article

120 Film Review

อันนี้เป็นการทดลองเล่นสนุกๆ ที่พยายาม ลดค่าความผิดพลาด อย่างความต่างของแสง ให้น้อยที่สุดเท่าที่พอจะทำได้ โดยการถ่าย ในสตูดิโอนะครับ ด้วยความอยากรู้ส่วนตัว >/\< ไม่ใช่ค่ากลาง ก็อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เพราะยังมีเรื่องความต่างยี่ห้อของเครื่องสแกน อีกทั้งเครื่องสแกนสภาพส่วนมากจะเป็นเครื่องเก่า มือสอง ความเสื่อมอาจจะไม่เท่ากัน และเงื่อนไขอื่น อย่างเช่นคนคุมเครื่อง ถ้าข้อมูลต่างๆ มีข้อผิดพลาดประการใด ก็กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

Len : Hasselblad Carl Zeiss Planar 120mm Makro F4 CF T

Camera Body : Hasselblad 503CW

Dev. : Noritsu V30P (Kodak C-41)

Scan : Fuji Frontier SP-3000

ปล. ใช้ไฟของ Broncolor แพค Scoro S หัวไฟรุ่น Pulso G เราได้เทสวัดกำลังไฟแล้ว

ปล.2 สแกนเองโดยไม่มีปรับแสงสีใดๆ

ปล.3 มี2รูปไม่ได้มีกล่องฟิล์มวางไว้ด้วยนะครับ คือ Kodak Ektar 100 กับ Kodak Portra 800 เพราะหาไม่ได้ ตอนซื้อบางทีก็ลืมขอร้านขายฟิล์ม หรือ บางร้านซื้อแค่ม้วนเดียวเขาก็ไม่ให้ ไว้เดี๋ยวอาจจะลองเล่นๆใหม่อีกรอบ เพราะอันนี้ถ่ายมาสักพักล่ะ ก่อนที่ Kodak Gold 200 เลยไม่มีเทียบด้วยเลย

#ishootfilmmagazine

CineStill 50D

Kodak Ektar 100

Silberra 100

Lomography 100

Kodak Portra 160

Fuji Pro160NS

Rollei Crossbird Creative 200

Kodak Portra 400

Fuji Pro400H

Lomography 400

Lomography Color Negative F²/400 Expired 11.2019

Kodak Portra 800

Lomography 800

Categories
Article

135 Film Review

เป็นการทดสอบฟิล์ม แบบที่เราพยายาม ลดค่าความผิดพลาด อย่างความต่างของแสง ให้น้อยที่สุดเท่าที่พอจะทำได้ โดยการถ่าย ในสตูดิโอ

Canon EOS 650 + Canon EF 100mm f2.8 L IS MACRO USM

Dev. : Noritsu V30P (Kodak C-41)

Scan : Fuji Frontier SP-500

ปล. ใช้ไฟของ Broncolor แพค Scoro S หัวไฟรุ่น Pulso G เราได้เทสวัดกำลังไฟแล้ว

#ishootfilmmagazine

ฟิล์มทุกตัวได้ล้างพร้อมกันด้วยน้ำยาตัวเดียวกัน (Kodak C-41) พร้อมสแกนเครื่องสแกนเดียวกัน Fuji Frontier SP-500 (การสแกนโดยไม่ปรับแสงแต่อย่างใด)

Film Chemicals Review

ว่าด้วยเรื่องน้ำยา สำหรับล้างฟิล์มสี ซึ่งใช่ว่าน้ำยาจะเหมือนกัน แต่ละตัวก็มีผลต่อโทนสีของฟิล์มเหมือนกันนะครับ และด้วยน้ำยาบางตัวอาทิ เช่น Tetenal, CineStill, DigitalBase, ECN-2 ส่วนมาก จะต้องล้างมือ หรือคือการที่เขย่าแทงค์ ซึ่งบางทีจะมีความต่างอยู่ที่แต่ละคนอาจจะเขย่าไม่เท่ากันครับ

ส่วน Kodak กับ Fuji สามารถล้างได้ทั้งมือและเข้าเครื่อง แต่ส่วนมาก Kodak จะเป็นการล้างเครื่อง น้อยคนที่จะล้างในแทงค์ และส่วน Fuji อาจจะมีบางร้านหรือที่ต่างประเทศก็จะใช้น้ำยา Fuji ลงในเครื่องแทนน้ำยาของKodakครับ

ฟิล์มทุกตัวเป็นยี่ห้อเดียวกันคือ Fuji Industrial 100 หรือ ที่เรียกกันว่า Fuji Japan 100 ถ่ายกล้องบอดี้และเลนส์ตัวเดียวกัน คือCanon EOS 650 และ EF100mm f/2.8 Macro USM เป็นการถ่ายในสตูดิโอ เช็ตฉาก จัดไฟ เพราะต้องการหลีกเลี่ยงค่าแสงที่อาจจะไม่คงที่เช่นเมฆบัง ฝนตก แดดออก จะได้สภาพแสงจากค่า K เดียวกัน แต่การล้างเราจะทำการล้างด้วยน้ำยาที่แตกต่างกันถึง 6ชนิด ได้แก่

  • Kodak C-41
  • Fuji C-41
  • Kodak ECN-2
  • Digibase C41
  • CineStill Cs41
  • Tetenal C-41

ฟิล์มได้ทำการสแกนด้วยเครื่องสแกนเดียวกัน Fuji Frontier SP-500 โดยไม่มีการปรับแสงสีแต่อย่างใดครับ

อันนี้เป็นการทดลองเล่นสนุกๆ นะครับ ด้วยความอยากรู้ส่วนตัว >/\< ไม่ใช่ค่ากลาง ก็อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เพราะยังมีเรื่องความต่างนี่ห้อของเครื่องสแกน อีกทั้งสภาพส่วนมากจะเป็นเครื่องเก่า มือสอง ความเสื่อมอาจจะไม่เท่ากัน และเงื่อนไขอื่น อย่างเช่นคนคุมเครื่อง ถ้าข้อมูลต่างๆ มีข้อผิดพลาดประการใด ก็กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ และหากมีใครต้องการติ หรือเสนอแนะอะไร จะขอบคุณมากๆ ครับ

Categories
Article

Film Tips #13 : วิธีเตือนความจำว่าในกล้องเป็นฟิล์มอะไร

สำหรับหลายคน น่าจะเป็นกันบ่อย เวลาใส่ฟิล์มไว้ในกล้อง แบบหนึ่งม้วน ถ่าย3-4เดือน หรือ นานกว่านั้น นานจนลืมว่าในกล้องเป็นฟิล์มอะไร ก็น่าจะเป็นเหมือนกันใช่มั้ยครับ เพราะกล้องฟิล์มบางตัว ฝาหลังกล้องจะไม่มีกระจกเล็กๆที่ให้เราดูว่าเป็นฟิล์มอะไร ซึ่งถ้าผ่านไปหลายเดือน เชื่อได้เลย ลืมกันทุกคน วีนนี้เลยอยากมาแนะนำ2-3วิธี ในการเตือนว่ากล้องตัวนี้เราใส่ฟิล์มอะไร วิธีแรก ฉีกส่วนหัวของกล่องฟิล์มแล้วเสียบไว้ที่หลังฝาปิด ซึ่งกล้องบางตัวจะมีช่องให้เสียบ แต่สำหรับกล้องบางตัวที่ไม่มี อาทิเช่น กล้องcompact ก็อาจจะแปะเทปใสติดไว้แทนครับ วิธีที่สอง แนะนำถ่ายกลักฟิล์มในกล้องไว้ดูจากมือถือ ประมาณก็เหมือนถ่ายรูปเลขเสาในตึกจอดรรถนั้นแหละ เพราะบางห้าง ที่จอดรถอย่างกะเขาวงกต 55555 หรืออีกวิธีนึง จะคล้ายวิธีแรก หรือ กรณีซื้อฟิล์มแล้วไม่มีกล่องมาด้วย เช่นพวก kodak pro image 100, kodak portra 160/400 หรือ lomo100-800 ที่ขายเป็นกล่องนึงมี3-5ม้วน แล้วถ้าซื้อทีละม้วน ก็จะได้แค่ กลักใส่ฟิล์มมา แนะนำให้แปะเทปย่นแล้วเอาปากกาเมจิกเขียนไว้ที่ฝาหลังกล้องเลย ตั้งแต่ตอนใส่ฟิล์มครับ

Categories
Article

Film Tips #12 : DX Code

DX-Coded กับ Non DX-Coded ต่างกันยังไง เมื่อใช้กับกล้องฟิล์ม คำตอบคือ กล้องฟิล์ม (ส่วนใหญ่ที่เป็นระบบ Auto) จะมีขั้วอ่าน DX-Coded เพื่อรับข้อมูลว่า “ฟิล์มที่เรากำลังใช้อยู่ เป็นฟิล์มอะไร” (จำนวนภาพ / ความไวแสง) เมื่อกล้องทราบข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ก็จะปรับระบบต่างๆ ของกล้องเช่น speed / f number ให้เข้ากับฟิล์มของเรา และสถานการณ์ที่กำลังจะถ่ายภาพนั้น

Categories
Article

Film Tips #11 : การเก็บรักษาฟิล์มหลังล้างเสร็จแล้ว

พูดถึงเรื่องเก็บฟิล์ม การเก็บในซองพลาสติกที่ได้มากับร้าน

ถ้าเวลาผ่านไป10ปี ถ้าเราเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องที่ร้อนหรือชื้นเกินไป อาจจะส่งผลให้เนื้อพลาสติกหลอมรวมกับเนื้อฟิล์ม(เนกาทีฟ) และอาจจะทำให้ตัวฟิล์มเป็นรอยคราบต่างๆ เลยอยากจะแนะนำให้หาซองกระดาษไขที่สามารถเก็บฟิล์มเนกาทีฟของเราได้อย่างปลอดภัยเป็นระยะเวลาหลาย10ปีครับ

Categories
Article

Film Tips #10 : ฟิล์มแต่ละชนิด

เปรียบเทียบฟิล์มformat ต่างๆเท่าที่ยังมีฟิล์มผลิตขายอยู่นะครับ ก็จะมีหลักๆ3format ได้แก่ 4×5 inch เรียกว่า Large Format , 120 ( จะมีตั้งแต่ 4.5×6 , 6×6 , 6×7 , 6×9 และ 6×14 cm) จะเรียกว่า Medium Format และฟิล์ม 35mm (35mm x 36mm) จะเรียกว่า 135 Format จะเห็นว่าขนาดของฟิล์ม 4×5 มีพื้นที่ใหญ่กว่า 120 และเช่นดียว 120 ก็จะใหญ่กว่า 135

ไล่จากบนลงมานะครับ ฟิล์มสไลด์ล้างตรงน้ำยาสูตร E6 , ฟิล์มขาวดำ, ฟิล์มสี แล้วก็ฟิล์มหนังล้างสูตรน้ำยา C-41 (Cross Process) และสุดท้าย ฟิล์มหนังล้างสูตรน้ำยา ECN-2 (ล้างตรง)