Categories
Article

Konica K-Mini

Compact Camera ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา แล้วแถมยังใช้งานง่ายมาก กดถ่ายอย่างเดียวสไตล์ Point&Shoot ชัดทั้งภาพตั้งแต่ระยะหลัง 1 เมตร โดยประมาณ ไม่มีฟังก์ชันอะไรสักอย่าง บางรุ่นมีแค่ปั้มวันที่ แต่ส่วนมากก็จะปั้มปีได้ถึงแค่ 2018 ซึ่งก็ไม่ค่อยมีประโยช์นเท่าไหร่

สืบเนื่องจาก ด้วยความอยากรู้ ว่าฟิล์มแต่ละฟิล์ม แต่ละยี่ห้อ มันต่างกันยังไง ซึ่งพูดตรงๆ ทุกวันนี้ก็ดูไม่ค่อยจะออกหรอก ดูออกแค่ มันออกไปเหลืองหรือฟ้า ก็แค่นั้น .. รูปไหนใช้ฟิล์มอะไรผมได้เขียนไว้มุมขวาล่างทุกรูปแล้วนะครับ .. จะทะยอยๆ Test อีกเรื่อยๆครับ ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวเองนี่แหละ อยากรู้ 555+ .. เหตุผลที่ใช้กล้อง Konica ตัวนี้ คือส่วนตัวชอบอยู่แล้ว เพราะมันเป็นกล้องที่ ไม่ต้องทำอะไร คือกดอย่างเดียว ><” Flash ออกตามที่กล้องมันวัดค่า Speed Shutter รูรับแสง F Stop ก็ออโต้ล้วนๆ โฟกัสก็ด้วย หลายรูปเลย บทจะให้ชัดตรงนี้ก็ไม่ชัด ดันไปชัดตรงอื่น -..-”

Kodak Pro Image 100

Lomography 100

Fuji Industrial 100 / Fuji Japan 100

Kodak Portra 160

Kodak Gold 200

Kodak Color Plus 200

Fuji X-Tra 400

Kodak Portra 400

Fuji Premium 400

Lomography 400

Kodak Ultramax 400

CineStill 800T

Categories
Article

โหลดฟิล์มขึ้นเครื่อง

หากคุณเดินทางพร้อมฟิล์มถ่ายภาพ ขอแนะนำอย่างยิ่งว่า อย่าโหลดฟิล์มไว้ในกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ที่ต้องโหลดใต้ท้องเครื่องบิน เนื่องจากเครื่อง X-ray ที่ใช้ตรวจสัมภาระโหลดใต้เครื่องนั้นมีความเข้มข้นสูง และอาจส่งผลให้เนื้อฟิล์มเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นการลดทอนคอนทราสต์ หรือเกิดรอยฟุ้งแสงที่ไม่พึงประสงค์ ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าคือ เก็บฟิล์มไว้ในกระเป๋าถือ (carry-on) ที่สามารถนำขึ้นเครื่องไปด้วย ซึ่งเครื่อง X-ray สำหรับผู้โดยสารในหลายประเทศยังมีความเข้มข้นไม่สูงมากนัก

จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านมา แม้จะเคยมีบางครั้งที่พกฟิล์มจำนวนมากจนใส่ถุงกัน X-ray ไม่หมด และต้องให้เครื่องสแกนตามปกติ แต่เมื่อล้างออกมาก็ไม่พบความเสียหายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ควรระวังเป็นพิเศษในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งบางสนามบินเริ่มมีการใช้งานเครื่อง X-ray รุ่นใหม่แบบ CT (Computed Tomography) ที่มีพลังงานสูงกว่ารุ่นเก่า และอาจทำให้ฟิล์มได้รับผลกระทบแม้เพียงครั้งเดียว บางคนเลือกวิธีแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ตรวจฟิล์มด้วยมือ (hand-check) โดยไม่ผ่านเครื่อง X-ray แต่ในทางปฏิบัติมักจะเจออุปสรรค เช่น เวลาที่เร่งรีบ หรือเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ตรวจด้วยมือ ทางออกที่แนะนำ คือ ลงทุนซื้อถุงกันรังสี X-ray สำหรับเก็บฟิล์มโดยเฉพาะ แม้อาจไม่กันได้ 100% แต่ก็ช่วยลดความเสี่ยง และยังสามารถใช้ประกอบคำขอ hand-check ได้ในบางกรณี

ฟิล์มดีๆ ถ่ายรูปมาลำบาก อย่าให้เสียหายเพราะผ่านเครื่องสแกนเพียงไม่กี่วินาที รู้ไว้ ป้องกันไว้… เพื่อภาพถ่ายที่ยังไม่เกิดจะได้ออกมาสมบูรณ์ที่สุด

Categories
Article

ล้างฟิล์มขาวดำด้วยกาแฟ Caffenol Developing

ล้างฟิล์มขาวดำด้วยกาแฟ Caffenol Developing สูตร caffenol ที่ใช้จะมีส่วนผสมแค่ 3 อย่างคือ

  • ผงกาแฟสำเร็จรูป
  • โซดาแอซ
  • วิตามินซีผง

การเตรียมส่วนผสม

  • น้ำอุณหภูมิห้อง 375 ml
  • ผงกาแฟ 6ช้อนชา
  • โซดาแอซ 3 ช้อนชา กับอีก 1/2 และ1/4 ช้อนชา
  • วิตามินซีผง 1/2ช้อนชา และ 1/4 ช้อนชา

ผสมจนละลายเข้ากันหมด แล้วทำการลดอุณหภูมิให้อยู่ที่ 20 องศา หลังจากนั้นใส่น้ำยา caffenol ลงในแทงค์ โดยที่นาทีแรกเขย่าตลอดเวลา หลังจากนั้นให้เขย่าทุกๆ นาที ประมาณ 10วินาที จนครบ 11 นาที เมื่อครบ11 นาทีแล้วให้ล้างฟิล์มด้วยน้ำสะอาด ล้างหลายๆรอบก็ได้ จนแน่ใจว่า เศษกาแฟออกหมดแล้ว เพื่อที่เวลาใส่น้ำยา Stop Bath , Fixer , Hypo Clearing จะได้เก็บไว้ใช้อีกได้ หรือถ้าต้องการจะทิ้งก็ไม่ต้องสนใจตรงนี้ครับ ขั้นตอนเวลา Stop Bath 1นาที, Fixer 5นาที และ Hypo Clearing 2นาที ใช้เวลาเดียวกับการล้างฟิล์มขาวดำด้วยน้ำยาปกติ หลังจากนั้นก็ล้างน้ำเปล่า แล้วเอาฟิล์มไปตาก

Categories
Article

วิธีจัดการฟิล์ม120ก่อนส่งล้างแบบง่าย

สำหรับผู้ที่ใช้งานกล้อง Medium Format หรือถ่ายด้วยฟิล์ม 120 คงคุ้นเคยกับการม้วนฟิล์มกลับเข้าแกนกระดาษหลังถ่ายเสร็จซึ่งโดยทั่วไปฟิล์ม 120 มักมีแถบกาวติดมาด้วยเพื่อใช้ปิดปลายกระดาษหลังพันเสร็จ บางยี่ห้อต้องใช้น้ำแตะก่อนให้กาวทำงานคล้ายกับการติดแสตมป์หรือซองจดหมายขณะที่บางแบรนด์ให้แถบสติ๊กเกอร์ที่สามารถลอกแล้วแปะได้ทันทีเพื่อความสะดวกอย่างไรก็ตามอีกหนึ่งวิธีที่ทั้งง่ายประหยัดและช่วยลดขั้นตอนยุ่งยากได้ดีโดยเฉพาะในยุคที่การสัมผัสกับวัตถุไม่สะอาดอาจสร้างความกังวลก็คือ “การใช้หนังยาง” รัดแทนการใช้กาวหรือสติ๊กเกอร์วิธีนี้ช่วยให้ร้านล้างฟิล์มสามารถเปิดและเตรียมฟิล์มสำหรับล้างได้ง่ายขึ้นโดยเฉพาะเมื่อต้องจัดการในถุงมืดก่อนนำเข้าแทงก์ล้างแต่ทั้งนี้ควรพันกระดาษฟิล์มให้แน่นชิดแกนก่อนรัดหนังยางเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากแสงรั่วซึมเข้าไปในเนื้อฟิล์มเทคนิคเล็กๆ เหล่านี้แม้ดูเรียบง่ายแต่ก็ช่วยให้กระบวนการถ่ายภาพและล้างฟิล์มเป็นไปอย่างราบรื่นและแสดงถึงความใส่ใจในทุกรายละเอียดของงานภาพถ่ายฟิล์มอย่างแท้จริง

Categories
Article

120 Film Review

อันนี้เป็นการทดลองเล่นสนุกๆ ที่พยายาม ลดค่าความผิดพลาด อย่างความต่างของแสง ให้น้อยที่สุดเท่าที่พอจะทำได้ โดยการถ่าย ในสตูดิโอนะครับ ด้วยความอยากรู้ส่วนตัว >/\< ไม่ใช่ค่ากลาง ก็อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เพราะยังมีเรื่องความต่างยี่ห้อของเครื่องสแกน อีกทั้งเครื่องสแกนสภาพส่วนมากจะเป็นเครื่องเก่า มือสอง ความเสื่อมอาจจะไม่เท่ากัน และเงื่อนไขอื่น อย่างเช่นคนคุมเครื่อง ถ้าข้อมูลต่างๆ มีข้อผิดพลาดประการใด ก็กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

Len : Hasselblad Carl Zeiss Planar 120mm Makro F4 CF T

Camera Body : Hasselblad 503CW

Dev. : Noritsu V30P (Kodak C-41)

Scan : Fuji Frontier SP-3000

ปล. ใช้ไฟของ Broncolor แพค Scoro S หัวไฟรุ่น Pulso G เราได้เทสวัดกำลังไฟแล้ว

ปล.2 สแกนเองโดยไม่มีปรับแสงสีใดๆ

ปล.3 มี2รูปไม่ได้มีกล่องฟิล์มวางไว้ด้วยนะครับ คือ Kodak Ektar 100 กับ Kodak Portra 800 เพราะหาไม่ได้ ตอนซื้อบางทีก็ลืมขอร้านขายฟิล์ม หรือ บางร้านซื้อแค่ม้วนเดียวเขาก็ไม่ให้ ไว้เดี๋ยวอาจจะลองเล่นๆใหม่อีกรอบ เพราะอันนี้ถ่ายมาสักพักล่ะ ก่อนที่ Kodak Gold 200 เลยไม่มีเทียบด้วยเลย

#ishootfilmmagazine

CineStill 50D

Kodak Ektar 100

Silberra 100

Lomography 100

Kodak Portra 160

Fuji Pro160NS

Rollei Crossbird Creative 200

Kodak Portra 400

Fuji Pro400H

Lomography 400

Lomography Color Negative F²/400 Expired 11.2019

Kodak Portra 800

Lomography 800

Categories
Article

135 Film Review

เป็นการทดสอบฟิล์ม แบบที่เราพยายาม ลดค่าความผิดพลาด อย่างความต่างของแสง ให้น้อยที่สุดเท่าที่พอจะทำได้ โดยการถ่าย ในสตูดิโอ

Canon EOS 650 + Canon EF 100mm f2.8 L IS MACRO USM

Dev. : Noritsu V30P (Kodak C-41)

Scan : Fuji Frontier SP-500

ปล. ใช้ไฟของ Broncolor แพค Scoro S หัวไฟรุ่น Pulso G เราได้เทสวัดกำลังไฟแล้ว

#ishootfilmmagazine

ฟิล์มทุกตัวได้ล้างพร้อมกันด้วยน้ำยาตัวเดียวกัน (Kodak C-41) พร้อมสแกนเครื่องสแกนเดียวกัน Fuji Frontier SP-500 (การสแกนโดยไม่ปรับแสงแต่อย่างใด)

Film Chemicals Review

ว่าด้วยเรื่องน้ำยา สำหรับล้างฟิล์มสี ซึ่งใช่ว่าน้ำยาจะเหมือนกัน แต่ละตัวก็มีผลต่อโทนสีของฟิล์มเหมือนกันนะครับ และด้วยน้ำยาบางตัวอาทิ เช่น Tetenal, CineStill, DigitalBase, ECN-2 ส่วนมาก จะต้องล้างมือ หรือคือการที่เขย่าแทงค์ ซึ่งบางทีจะมีความต่างอยู่ที่แต่ละคนอาจจะเขย่าไม่เท่ากันครับ

ส่วน Kodak กับ Fuji สามารถล้างได้ทั้งมือและเข้าเครื่อง แต่ส่วนมาก Kodak จะเป็นการล้างเครื่อง น้อยคนที่จะล้างในแทงค์ และส่วน Fuji อาจจะมีบางร้านหรือที่ต่างประเทศก็จะใช้น้ำยา Fuji ลงในเครื่องแทนน้ำยาของKodakครับ

ฟิล์มทุกตัวเป็นยี่ห้อเดียวกันคือ Fuji Industrial 100 หรือ ที่เรียกกันว่า Fuji Japan 100 ถ่ายกล้องบอดี้และเลนส์ตัวเดียวกัน คือCanon EOS 650 และ EF100mm f/2.8 Macro USM เป็นการถ่ายในสตูดิโอ เช็ตฉาก จัดไฟ เพราะต้องการหลีกเลี่ยงค่าแสงที่อาจจะไม่คงที่เช่นเมฆบัง ฝนตก แดดออก จะได้สภาพแสงจากค่า K เดียวกัน แต่การล้างเราจะทำการล้างด้วยน้ำยาที่แตกต่างกันถึง 6ชนิด ได้แก่

  • Kodak C-41
  • Fuji C-41
  • Kodak ECN-2
  • Digibase C41
  • CineStill Cs41
  • Tetenal C-41

ฟิล์มได้ทำการสแกนด้วยเครื่องสแกนเดียวกัน Fuji Frontier SP-500 โดยไม่มีการปรับแสงสีแต่อย่างใดครับ

อันนี้เป็นการทดลองเล่นสนุกๆ นะครับ ด้วยความอยากรู้ส่วนตัว >/\< ไม่ใช่ค่ากลาง ก็อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เพราะยังมีเรื่องความต่างนี่ห้อของเครื่องสแกน อีกทั้งสภาพส่วนมากจะเป็นเครื่องเก่า มือสอง ความเสื่อมอาจจะไม่เท่ากัน และเงื่อนไขอื่น อย่างเช่นคนคุมเครื่อง ถ้าข้อมูลต่างๆ มีข้อผิดพลาดประการใด ก็กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ และหากมีใครต้องการติ หรือเสนอแนะอะไร จะขอบคุณมากๆ ครับ

Categories
Article

Film Tips #13 : วิธีเตือนความจำว่าในกล้องเป็นฟิล์มอะไร

สำหรับผู้ที่ใช้งานกล้องฟิล์มเป็นประจำน่าจะเคยประสบปัญหา “ลืมว่าฟิล์มอะไรอยู่ในกล้อง” โดยเฉพาะเมื่อใช้ฟิล์มหนึ่งม้วนนานหลายเดือนหรือถ่ายค้างไว้จนลืมกล้องบางรุ่น โดยเฉพาะกล้องคอมแพกต์หรือกล้องเก่า มักไม่มีช่องเสียบกล่องฟิล์มไว้ที่ฝาหลังทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถดูได้ในภายหลังว่าใช้งานฟิล์มชนิดใดอยู่วันนี้จึงขอแนะนำเทคนิคง่ายๆ ที่จะช่วยให้จดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้นวิธีแรกคือ “ฉีกส่วนหัวของกล่องฟิล์ม” แล้วเสียบไว้ที่ช่องด้านหลังกล้อง (ในกรณีที่กล้องรองรับ) หรือหากกล้องไม่มีช่องดังกล่าวอาจใช้เทปใสแปะกล่องฟิล์มบริเวณฝาหลังแทนวิธีที่สองคือ “ถ่ายภาพกลักฟิล์มที่ใส่ไว้” ด้วยโทรศัพท์มือถือคล้ายการถ่ายรูปเลขเสาที่จอดรถในห้างเพื่อช่วยจำในภายหลังและอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ได้ดีคือการ “ติดเทปย่นที่ฝาหลังกล้อง” แล้วใช้ปากกาเมจิกเขียนชื่อฟิล์มที่ใช้อยู่เหมาะสำหรับกรณีที่ซื้อฟิล์มแยกจากกล่องเช่น Kodak Pro Image 100 หรือ Lomo CN 800 ที่มักไม่ได้แถมกล่องแยกต่อม้วนเทคนิคเหล่านี้ไม่เพียงช่วยป้องกันการถ่ายซ้ำหรือล้างผิดสูตรแต่ยังทำให้กระบวนการถ่ายภาพด้วยฟิล์มเป็นไปอย่างราบรื่นและมั่นใจยิ่งขึ้น

Categories
Article

Film Tips #12 : DX Code

ความแตกต่างระหว่าง DX-Coded และ Non DX-Coded บนกลักฟิล์ม สำหรับกล้องฟิล์ม (โดยเฉพาะรุ่นที่มีระบบอัตโนมัติ) ความสามารถในการอ่านโค้ด DX บนกระปุกฟิล์ม คือกุญแจสำคัญที่ทำให้กล้องรู้จักฟิล์มที่เราใช้งานอยู่

ฟิล์มแบบ DX-Coded จะมีแถบโลหะด้านข้างที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลให้กล้อง เช่น ค่าความไวแสง (ISO), จำนวนภาพ และรหัสฟิล์ม เมื่อตัวกล้องอ่านข้อมูลเหล่านี้ได้ ระบบจะสามารถปรับค่าต่างๆ เช่น ความเร็วชัตเตอร์ (shutter speed) หรือรูรับแสง (f-number) ได้อย่างเหมาะสมกับฟิล์มนั้นโดยอัตโนมัติ

ในทางกลับกัน ฟิล์มแบบ Non DX-Coded จะไม่มีข้อมูลเหล่านี้ให้กล้องรับรู้ ผู้ใช้จึงต้องตั้งค่ากล้องด้วยตนเอง ซึ่งอาจสะดวกหรือตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการควบคุมการถ่ายภาพด้วยมือมากกว่า

Categories
Article

Film Tips #11 : การเก็บรักษาฟิล์มหลังล้างเสร็จแล้ว

พูดถึงเรื่องเก็บฟิล์ม การเก็บในซองพลาสติกที่ได้มากับร้าน ถ้าเวลาผ่านไป10ปี ถ้าเราเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องที่ร้อนหรือชื้นเกินไป อาจจะส่งผลให้เนื้อพลาสติกหลอมรวมกับเนื้อฟิล์ม(เนกาทีฟ) และอาจจะทำให้ตัวฟิล์มเป็นรอยคราบต่างๆ เลยอยากจะแนะนำให้หาซองกระดาษไขที่สามารถเก็บฟิล์มเนกาทีฟของเราได้อย่างปลอดภัยเป็นระยะเวลาหลาย10ปีครับ

ซองพลาสติกอาจหลอมรวมติดกับฟิล์มเนื่องจากปัจจัยทางเคมีและกายภาพหลายประการ เช่น

1. ความร้อนและแรงกด – หากฟิล์มและซองพลาสติกถูกเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ในรถยนต์ หรือบริเวณที่โดนแสงแดดเป็นเวลานาน พลาสติกอาจเริ่มอ่อนตัวและยึดติดกับฟิล์มโดยเฉพาะถ้ามีแรงกดทับ

2. ปฏิกิริยาทางเคมี – พลาสติกบางชนิดมีสารที่อาจทำปฏิกิริยากับสารเคลือบของฟิล์ม (เช่น เจลาตินหรือสารเคมีที่ใช้บันทึกภาพ) ทำให้เกิดการละลายและหลอมรวมกัน

3. ความชื้นและการเสื่อมสภาพ – ความชื้นสูงอาจทำให้สารเคลือบฟิล์มเหนียวขึ้นและติดกับพลาสติกได้ นอกจากนี้ ฟิล์มเก่าหรือเสื่อมสภาพอาจมีสารเคลือบที่เสื่อมและกลายเป็นกาวได้

4. ไฟฟ้าสถิต – พลาสติกและฟิล์มอาจมีประจุไฟฟ้าสถิตที่ดึงดูดกัน โดยเฉพาะถ้าเก็บไว้ในสภาพแวดล้อมแห้ง

วิธีป้องกัน • เก็บฟิล์มในซองกระดาษหรือซองเก็บฟิล์มที่ออกแบบมาสำหรับการถนอมฟิล์มโดยเฉพาะ

• หลีกเลี่ยงการเก็บฟิล์มในที่ร้อนหรือชื้น

• ใช้ถุงเก็บฟิล์มที่เป็นวัสดุปลอดภัย เช่น polypropylene หรือ polyethylene ซึ่งมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาน้อยกว่า

ถ้าฟิล์มติดกับพลาสติกไปแล้ว อาจลองใช้วิธีการแช่ในช่องฟรีซ (freeze) เพื่อทำให้พลาสติกหดตัวและพยายามลอกออกเบาๆ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบูรณะฟิล์มเพื่อป้องกันความเสียหาย

Categories
Article

Film Tips #10 : ฟิล์มแต่ละชนิด


ในยุคที่ฟิล์มกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งการทำความเข้าใจเรื่อง “ฟอร์แมตของฟิล์ม” ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญโดยในปัจจุบันฟอร์แมตที่ยังมีการผลิตและใช้งานอยู่หลักๆมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่ 135 (หรือ 35mm) ซึ่งเป็นขนาดเล็กที่สุดขนาดเฟรมประมาณ 36×24 มม. ใช้กับกล้องฟิล์มทั่วไป, ฟิล์ม 120 หรือ Medium Format ซึ่งมีหลายอัตราส่วนเช่น 6×4.5, 6×6, 6×7, 6×9 และ 6×12 เซนติเมตรและสุดท้ายคือ Large Format ที่นิยมในขนาด 4×5 นิ้วซึ่งให้รายละเอียดสูงสุดในบรรดาฟิล์มทั้งหมดพื้นที่ภาพที่ใหญ่ขึ้นหมายถึงคุณภาพและช่วงไดนามิกที่มากขึ้นด้วยทั้งนี้ฟิล์มยังแบ่งได้ตามกระบวนการล้างเช่นฟิล์มสีทั่วไปที่ใช้เคมี C-41, ฟิล์มขาวดำดั้งเดิม, ฟิล์มสไลด์ (E-6), รวมถึงฟิล์มภาพยนตร์ที่สามารถล้างแบบตรงสูตร ECN-2 หรือแบบ Cross Process เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างการเลือกใช้งานแต่ละฟอร์แมตและกระบวนการล้างจึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และอารมณ์ของภาพที่ต้องการถ่ายทอดเป็นสำคัญ