Categories
Back Issue

I SHOOT FILM / SPECIAL / PART 1

คิดถึงกันมั้ยครับ

ห่างหายกันไปสักพัก ตั้งแต่ฉบับครบรอบ 1 ปี ที่หายไป ก็เพื่อไปรวบรวมข้อมูล และทำเนื้อหาเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม ที่เข้มข้น ถูกต้อง และใช้เวลา เพราะทีมงานทุกคนอยากให้นิตยสารเล่มนี้ มีประโยชน์กับคนที่รักการถ่ายภาพด้วยฟิล์มจริงๆครับ

นั่นหมายความว่า เราอาจจะไม่ได้มีกำหนดการตายตัว เป็นฉบับรายเดือน เหมือนที่เคยทำมา แต่จะเปลี่ยนเป็นฉบับพิเศษ ตามแต่เนื้อหาที่มี ต้องครบถ้วนสมบูรณ์

ซึ่งคราวนี้เราได้จัดทำ I Shoot Film ฉบับพิเศษขึ้นมา 2 เล่ม โดยจะเป็นการทดสอบฟิล์มในสภาพแสง ฉาก และนางแบบ ที่ควบคุมได้ทั้งหมดภายในสตูดิโอ รวมทั้งมีการทดสอบในน้ำยาล้างฟิล์ม ต่างชนิดกันด้วย เพื่อให้เห็นความแตกต่างของฟิล์มแต่ละประเภทอย่างชัดเจนที่สุด

โดยฉบับพิเศษเล่มที่ 1 จะเป็นการทดสอบฟิล์ม 135

และฉบับพิเศษเล่มที่ 2 จะเป็นการทดสอบฟิล์ม 120

หวังว่าจะมีโอกาสได้มาพบกับผู้อ่านทุกท่านบ่อยๆนะครับ … จนกว่าจะพบกันใหม่

ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพด้วยฟิล์มครับ

กำพล กิตติพจน์วิไล

Kumpol Kittiphotwilai

editor

#ishootfilmmagazine

ookbee.com

mebmarket.com

hytexts.com

issuu.com

Categories
Article

Film Tips #12 : DX Code

ความแตกต่างระหว่าง DX-Coded และ Non DX-Coded บนกลักฟิล์ม สำหรับกล้องฟิล์ม (โดยเฉพาะรุ่นที่มีระบบอัตโนมัติ) ความสามารถในการอ่านโค้ด DX บนกระปุกฟิล์ม คือกุญแจสำคัญที่ทำให้กล้องรู้จักฟิล์มที่เราใช้งานอยู่

ฟิล์มแบบ DX-Coded จะมีแถบโลหะด้านข้างที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลให้กล้อง เช่น ค่าความไวแสง (ISO), จำนวนภาพ และรหัสฟิล์ม เมื่อตัวกล้องอ่านข้อมูลเหล่านี้ได้ ระบบจะสามารถปรับค่าต่างๆ เช่น ความเร็วชัตเตอร์ (shutter speed) หรือรูรับแสง (f-number) ได้อย่างเหมาะสมกับฟิล์มนั้นโดยอัตโนมัติ

ในทางกลับกัน ฟิล์มแบบ Non DX-Coded จะไม่มีข้อมูลเหล่านี้ให้กล้องรับรู้ ผู้ใช้จึงต้องตั้งค่ากล้องด้วยตนเอง ซึ่งอาจสะดวกหรือตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการควบคุมการถ่ายภาพด้วยมือมากกว่า

Categories
Article

Film Tips #11 : การเก็บรักษาฟิล์มหลังล้างเสร็จแล้ว

พูดถึงเรื่องเก็บฟิล์ม การเก็บในซองพลาสติกที่ได้มากับร้าน ถ้าเวลาผ่านไป10ปี ถ้าเราเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องที่ร้อนหรือชื้นเกินไป อาจจะส่งผลให้เนื้อพลาสติกหลอมรวมกับเนื้อฟิล์ม(เนกาทีฟ) และอาจจะทำให้ตัวฟิล์มเป็นรอยคราบต่างๆ เลยอยากจะแนะนำให้หาซองกระดาษไขที่สามารถเก็บฟิล์มเนกาทีฟของเราได้อย่างปลอดภัยเป็นระยะเวลาหลาย10ปีครับ

ซองพลาสติกอาจหลอมรวมติดกับฟิล์มเนื่องจากปัจจัยทางเคมีและกายภาพหลายประการ เช่น

1. ความร้อนและแรงกด – หากฟิล์มและซองพลาสติกถูกเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ในรถยนต์ หรือบริเวณที่โดนแสงแดดเป็นเวลานาน พลาสติกอาจเริ่มอ่อนตัวและยึดติดกับฟิล์มโดยเฉพาะถ้ามีแรงกดทับ

2. ปฏิกิริยาทางเคมี – พลาสติกบางชนิดมีสารที่อาจทำปฏิกิริยากับสารเคลือบของฟิล์ม (เช่น เจลาตินหรือสารเคมีที่ใช้บันทึกภาพ) ทำให้เกิดการละลายและหลอมรวมกัน

3. ความชื้นและการเสื่อมสภาพ – ความชื้นสูงอาจทำให้สารเคลือบฟิล์มเหนียวขึ้นและติดกับพลาสติกได้ นอกจากนี้ ฟิล์มเก่าหรือเสื่อมสภาพอาจมีสารเคลือบที่เสื่อมและกลายเป็นกาวได้

4. ไฟฟ้าสถิต – พลาสติกและฟิล์มอาจมีประจุไฟฟ้าสถิตที่ดึงดูดกัน โดยเฉพาะถ้าเก็บไว้ในสภาพแวดล้อมแห้ง

วิธีป้องกัน • เก็บฟิล์มในซองกระดาษหรือซองเก็บฟิล์มที่ออกแบบมาสำหรับการถนอมฟิล์มโดยเฉพาะ

• หลีกเลี่ยงการเก็บฟิล์มในที่ร้อนหรือชื้น

• ใช้ถุงเก็บฟิล์มที่เป็นวัสดุปลอดภัย เช่น polypropylene หรือ polyethylene ซึ่งมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาน้อยกว่า

ถ้าฟิล์มติดกับพลาสติกไปแล้ว อาจลองใช้วิธีการแช่ในช่องฟรีซ (freeze) เพื่อทำให้พลาสติกหดตัวและพยายามลอกออกเบาๆ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบูรณะฟิล์มเพื่อป้องกันความเสียหาย

Categories
Article

Film Tips #10 : ฟิล์มแต่ละชนิด


ในยุคที่ฟิล์มกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งการทำความเข้าใจเรื่อง “ฟอร์แมตของฟิล์ม” ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญโดยในปัจจุบันฟอร์แมตที่ยังมีการผลิตและใช้งานอยู่หลักๆมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่ 135 (หรือ 35mm) ซึ่งเป็นขนาดเล็กที่สุดขนาดเฟรมประมาณ 36×24 มม. ใช้กับกล้องฟิล์มทั่วไป, ฟิล์ม 120 หรือ Medium Format ซึ่งมีหลายอัตราส่วนเช่น 6×4.5, 6×6, 6×7, 6×9 และ 6×12 เซนติเมตรและสุดท้ายคือ Large Format ที่นิยมในขนาด 4×5 นิ้วซึ่งให้รายละเอียดสูงสุดในบรรดาฟิล์มทั้งหมดพื้นที่ภาพที่ใหญ่ขึ้นหมายถึงคุณภาพและช่วงไดนามิกที่มากขึ้นด้วยทั้งนี้ฟิล์มยังแบ่งได้ตามกระบวนการล้างเช่นฟิล์มสีทั่วไปที่ใช้เคมี C-41, ฟิล์มขาวดำดั้งเดิม, ฟิล์มสไลด์ (E-6), รวมถึงฟิล์มภาพยนตร์ที่สามารถล้างแบบตรงสูตร ECN-2 หรือแบบ Cross Process เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างการเลือกใช้งานแต่ละฟอร์แมตและกระบวนการล้างจึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และอารมณ์ของภาพที่ต้องการถ่ายทอดเป็นสำคัญ

Categories
Article

Film Tips #9 : การเก็บรักษาฟิล์มที่ยังไม่ได้ถ่าย

การเก็บรักษาฟิล์มอยากให้ใช้ได้นานๆ ต้องเก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13องศา หรือ ในตู้เย็นช่องธรรมด

แต่ถ้าจะใช้ภายในไม่กี่วันไม่กี่เดือน ก็ไม่จำเป็นต้องแช่ในตู้เย็นนะครับ

ยกเว้นฟิล์มที่กำลังจะหมดอายุ ถ้ารีบเอาแช่ตู้เย็นไว้ โอกาสที่ฟิล์มนั้นจะยังถ่ายติดชัดสวยเหมือนฟิล์มใหม่ จะมีสูงกว่าครับ แต่ถ้าฟิล์มหมดอายุมาก่อนแล้ว ประมาณว่า คนขายไม่ใช้เก็บในอุณหภูมิที่ต่ำหรือในตู้เย็น ซึ่งพอเราได้มาแล้ว แล้วเอาไปแช่ตู้เย็น อาจจะไม่ค่อยช่วยอะไรมากนักครับ

การจัดเก็บฟิล์มถ่ายภาพในตู้เย็น: ข้อดี ข้อควรระวัง และคำแนะนำสำหรับช่างภาพฟิล์ม

การจัดเก็บฟิล์มถ่ายภาพให้เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานและคุณภาพของภาพถ่าย โดยเฉพาะในยุคที่ฟิล์มเริ่มหายากและมีราคาสูงขึ้น “การเก็บฟิล์มไว้ในตู้เย็น” จึงกลายเป็นคำแนะนำที่พบได้บ่อยในวงการช่างภาพแต่อาจยังมีข้อถกเถียงอยู่บ้างว่าจำเป็นหรือเหมาะสมเพียงใด บทความนี้จะอธิบายข้อดี ข้อควรระวัง และแนวทางการเก็บรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ใช้งานฟิล์มในระยะยาว

ข้อดีของการเก็บฟิล์มในตู้เย็น

1. ชะลอการเสื่อมของสารเคมี (Slows Chemical Aging) ฟิล์มถ่ายภาพมีองค์ประกอบทางเคมีที่ไวต่ออุณหภูมิ การเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำจะช่วยชะลอปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้ฟิล์มเสื่อมคุณภาพ ช่วยยืดอายุการใช้งานและคงความคมชัดของภาพ

2. ลดการซีดจางและการเปลี่ยนค่าสี (Reduces Fading and Color Shifts) ฟิล์มสีโดยเฉพาะมีแนวโน้มจะเกิดการเปลี่ยนค่าสีเมื่อถูกเก็บในอุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน การลดอุณหภูมิช่วยลดปัญหาดังกล่าว และรักษาความถูกต้องของโทนสี

3. ป้องกันเชื้อราหรือการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ (Prevents Fungus Growth) ในสภาพอากาศร้อนชื้นอย่างในประเทศไทย ฟิล์มที่เก็บไม่ดีอาจเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อรา การเก็บในตู้เย็นที่ควบคุมความชื้นได้ดีกว่าจึงช่วยลดความเสี่ยงนี้

ข้อควรระวังในการเก็บฟิล์มในตู้เย็น

1. การควบแน่นของไอน้ำ (Condensation Risk) เมื่อนำฟิล์มออกจากตู้เย็นทันที ฟิล์มอาจเกิดหยดน้ำบนผิว ซึ่งอาจทำให้เกิดรอยด่างหรือความเสียหายกับเนื้อฟิล์มได้ ควรวางฟิล์มให้ปรับอุณหภูมิจนเท่ากับอุณหภูมิห้องก่อนใช้งานเสมอ

2. ความผันผวนของอุณหภูมิ (Temperature Fluctuations) การเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยครั้งอาจทำให้อุณหภูมิภายในไม่คงที่ ซึ่งส่งผลเสียต่อคุณภาพของฟิล์มได้ โดยเฉพาะหากเป็นตู้เย็นที่ใช้ร่วมกับการเก็บอาหาร

3. การดูดกลิ่น (Odor Absorption) ฟิล์มอาจดูดซับกลิ่นจากอาหารหรือสิ่งของอื่น ๆ ที่อยู่ในตู้เย็น หากไม่มีการเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท เช่น กล่องพลาสติกสูญญากาศหรือซองฟอยล์

คำแนะนำในการจัดเก็บฟิล์มอย่างเหมาะสม

• เก็บในถุงหรือกล่องปิดสนิท เพื่อป้องกันความชื้นและกลิ่น

• ระบุวันที่หมดอายุบนกล่องให้ชัดเจน และเรียงลำดับการใช้งานตามลำดับ

• เมื่อนำออกมาใช้งาน ควรรอให้ฟิล์มปรับอุณหภูมิก่อนเปิดบรรจุภัณฑ์ โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1–2 ชั่วโมง

• หากเก็บไว้ระยะยาว (เกิน 1 ปี) ควรเก็บในช่องแช่แข็ง (Freezer) แทนช่องธรรมดา และต้องละลายน้ำแข็งก่อนใช้งานอย่างระมัดระวัง

บทสรุป

การเก็บฟิล์มไว้ในตู้เย็นสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานและรักษาคุณภาพของฟิล์มได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ควรใช้อย่างระมัดระวังและมีความรู้ความเข้าใจในปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การเลือกวิธีจัดเก็บที่เหมาะสมควรขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน ปริมาณการถ่ายภาพ และสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล

Categories
Article

Film Tips #8 : เครื่องสแกนกับฟิล์มขาวดำ

เครื่องสแกนของ Fuji Frontier แทบทุกเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น SP-500 , SP-2000 และ SP-3000 เวลาสแกนฟิล์มขาวดำ ไม่ว่าจะฟิล์มขาวดำแบบปกติ หรือ ilford XP2 เป็นฟิล์มขาวดำล้าง Cross Process ด้วยน้ำยาฟิล์มสี C-41 เวลาสแกน รูปจะไม่ดำสนิทครับ เท่าที่ลองดูเทียบดูเองน่ะครับ ซึ่งต้องมาปรับให้ดำสนิทผ่าน Program ต่างๆ เช่น Photoshop/Light room. ยกเว้น เครื่องสแกนของ Norisu เท่าที่ลองมาแล้ว รูปออกมาดูขาวดำ ค่อนข้างดีกว่า เครื่องสแกนของ Fuji Frontier

รูปตัวอย่างสแกนฟิล์มขาวดำกับเครื่อง Fuji Frontier SP-500

รูปตัวอย่างสแกนฟิล์มขาวดำกับเครื่อง Noritsu LS1100

Categories
Article

Film Tips #7 : วิธีดูฟิล์มถ่ายแล้วหรือยังไม่ถ่าย ก่อนส่งล้าง


สำหรับมือใหม่ที่เริ่มต้นถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มหนึ่งในคำถามยอดฮิตคือ “จะรู้ได้อย่างไรว่าฟิล์มม้วนนั้นผ่านการใช้งานแล้วหรือยัง?” หากเป็นกล้องที่โหลดฟิล์มอัตโนมัติเมื่อถ่ายจบระบบจะกรอฟิล์มกลับเข้าไปในกลักทั้งหมดทำให้ฟิล์มที่ไม่มีหางยื่นออกมามักหมายถึงม้วนที่ “ใช้แล้ว” ในทางกลับกันหากใช้กล้องแบบกรอฟิล์มด้วยมือโดยเฉพาะคนที่ตั้งใจกรอให้เหลือหางฟิล์มไว้เพื่อให้ล้างง่ายขึ้นอาจต้องพิจารณาที่ปลายหางฟิล์มหากยังไม่มีรอยพับหรือร่องรอยการถูกดึงผ่านเฟืองกล้องนั่นอาจหมายถึงฟิล์มม้วนนั้นยังไม่ได้ผ่านการใช้งานอย่างไรก็ตามเพื่อความมั่นใจและป้องกันการถ่ายซ้ำหรือสูญเสียภาพสำคัญควรกรอฟิล์มให้หมดทุกครั้งและแนะนำให้มีระบบจดบันทึกหรือทำเครื่องหมายไว้ด้วยจะช่วยให้การจัดการฟิล์มในระยะยาวเป็นระเบียบยิ่งขึ้น

Categories
Article

Film Tips #6 : วิธีดูฟิล์มถ่ายติดไม่ติด

มือใหม่ถ่ายฟิล์ม งงทำไมล้างออกมาแล้ว “ฟิล์มใส” หรือ “ดำทึบ”? ขออธิบายแบบง่ายๆ ภาษาชาวบ้าน ไม่ใช้ศัพท์วิชาการนะครับ เพราะส่วนตัวก็ไม่ได้เก่งอะไร หลายคนอาจเคยเจอ ถ่ายรูปไปทั้งม้วน แต่พอเอาไปล้างแล้ว ฟิล์ม ใสแจ๋ว ไม่มีรูป หรือบางช่วง ดำทึบ แบบไม่มีรายละเอียดเลย

1. ฟิล์มที่โดนแสง (เช่น หัวม้วน) เวลาล้างออกมาแล้วจะกลายเป็นสีดำทึบ เพราะมันโดนแสงเต็มๆ อันนี้ปกติ เป็นสัญญาณว่าฟิล์มล้างได้ถูกต้อง

2. ฟิล์มที่ถ่ายติดปกติ จะเห็นภาพเป็นแถบๆ ตามจำนวนช็อตที่ถ่าย แต่ถ้าในรูปตัวอย่าง ฟิล์มไม่เดิน ภาพเลยถูกถ่ายซ้ำจุดเดิมวนไปวนมา

3. ถ้าล้างออกมาแล้ว “ฟิล์มใสทั้งม้วน” แต่ยังเห็นโค้ด (ตัวเลข/ตัวอักษร) ข้างรูหนามเตยชัดเจน อันนี้แปลว่า ขั้นตอนล้างฟิล์มถูกต้อง ร้านล้างไม่ผิด แต่ปัญหาอาจอยู่ที่ตัวกล้องแทน ให้สันนิษฐานว่า:

• กล้อง “ถ่ายไม่ติด” เช่น ม่านชัตเตอร์ไม่เปิด หรือรูรับแสงไม่ทำงาน หรือ ลืมเปิดฝาเลนส์

แนะนำ: ลองเช็กกล้องดู หรือนำไปร้านให้ช่างตรวจให้ก็ได้ครับ

1.กล้องถ่ายไม่ติด สาเหตุอาจจะมาจาก ม่านซัตเตอร์ หรือ รูรับแสง ในตัวกล้องไม่ทำงาน

2. ลืมเปิดฝาหน้าเลนส์กล้อง แล้วลองเช็กกล้อง หรือ เอาไปให้ร้านซ่อมตรวจดูครับ

Categories
Article

Fim Tips #5 : วิธีล้างฟิล์มขาวดำ

วิธีล้างฟิล์มขาวดำเองแบบบ้านๆ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีดังนี้

1. ชุดน้ำยาล้างฟิล์มขาวดำ ปัจจุบัน เหมือนจะเหลือไม่กี่ยี่ห้อ เช่น Kodak D76, Kodak TMAX , Cinestill Df96 (ซึ่งอันนี้จะเป็น Monobath คือล้างแค่น้ำยาตัวเอง แต่คุณภาพก็ไม่ค่อยจะโอเคสักเท่าไหร่ ข้อดีของตัวนี้คือเร็ว) และ ilford (DDX, ilfosol3)

2. ถุงมืดและที่ดึงฟิล์ม เพื่อดึงฟิล์มออกมาจากกลักและโหลดฟิล์มใส่ในแท้งก์ในถุงมืด เพราะฟิล์มห้ามโดนแสงเลย แสงสลัวๆ ก็ไม่ได้

3. อุปกรณ์แท้งก์ล้างฟิล์ม หลักๆที่คนใช้กันก็จะมี2ยี้ห้อ คือ Paterson และ JOBO แต่ก็มีแบรนด์ใหม่เพิ่มมาอีกเจ้าของ Lab box (ซึ่งตัวนี้ ส่วนตัวก็มีซื้อมาลองใช้แล้ว ถ้าล้างแต่ละครั้งไม่บ่อย แค่ม้วนเดียว นี่แนะนำเลยครับ ล้างง่าย ล้างที่ไหนก็ได้ สะดวก แต่ถ้าล้างหลายๆม้วน ไม่ค่อยแนะนำครับ)

4. ถ้วยตวง หรือ บิกเกอร์ ขนาดสัก 500ml ก็พอกำลังดี เพราะล้างฟิล์ม 1ม้วน และใช้ตัว Lab box จะใช้น้ำยา 250-300ml ห้ามใส่เกิน เพราะมันจะล้นครับ

5. น้ำแข็ง จะต่างกับเล่มที่3 ที่ฟิล์มสีต้องการน้ำอุ่น 39องศา ต้องใช้เครื่องทำน้ำอุ่น (ซู-วี) แต่ของฟิล์มขาวดำจะเป็นน้ำเย็น 20องศา

6. เทอร์โมมิเตอร์ สัก ๅอัน หรือ 4อัน ตามจำนวนน้ำยาเลยก็ดีครับ

7. ฟองน้ำ pva ไว้รูดเช็ดฟิล์ม กับ ตัวหนีบ ไว้ตากแขวนฟิล์ม และ ตู้เสื้อผ้าที่ตากฟิล์มข้างในกันฝุ่น ถ้าไม่ซีเรียสก็ตากในห้องน้ำเลยก็ได้

ขั้นตอนการล้างหลักๆตามนี้

1. Developer น้ำยาสร้างภาพ (อันนี้ แต่ละฟิล์มจะใช้เวลาไม่ค่อยเท่ากัน ให้ดูได้จากด้านในกล่องกระดาษของฟิล์มที่เราซื้อมา)

2. Stop baht (น้ำยาหยุดสร้างภาพ) 1 min.

3. Fixer(น้ำยาคงสภาพ) 5 min.

4. Washaid หรือ Hypo Clearing(น้ำยาขจัดคราบ) 2 min.

5. Final wash(น้ำเปล่า) 10.30 min.

6. Ilfotol (น้ำยาไล่คราบน้ำ) 30 sec. (อันนี้แล้วแต่ใส่ก็ได้ ไม่ใส่ก็ได้ครับ) เทน้ำยาแต่ละอย่างตามอัตราส่วนที่เรากำหนดไว้ ใช้น้ำยา+น้ำเปล่า รวมเป็น 500ml สำหรับล้างฟิล์ม2ม้วน และใช้น้ำยาของ ilford ซึ่งน้ำยาแต่ละตัวก็ผสมไม่เท่ากัน

– Devolop 1+9 = น้ำยา50ml+น้ำเปล่า450ml

– Stop bath 1+19 = น้ำยา25ml+น้ำเปล่า475ml

– Fixer 1+4 = น้ำยา100ml+น้ำเปล่า400ml

– Washaid 1+4 = น้ำยา100ml+น้ำเปล่า400ml

ปล. ปริมาณน้ำยา เวลา อุณหภูมิ, การคน, การเขย่า, ส่งผลต่อภาพบนเนกาทีฟทั้งนั้น เช่น เกรนและคอนทราสต์

ปล2. เวลาในการล้างฟิล์มจะประมาณ ครึ่งชั่วโมง ต่อครั้ง ก็ไม่นานมากครับ ถ้าคล่องแล้วจะรู้สึกชิวมาก ดูหนังฟังเพลงไปด้วยก็ยังได้ครับ

Categories
Article

Film Tips #4 : 135 film on 120 camera

วิธีใส่ฟิล์ม 135 กับกล้องHasselblad 120 หาซื้อตัวแปลง ราคาอยู่ราวๆ ร้อยกว่าบาทครับ .. ดึงฟิล์มมาพันกับ แกนเปล่า 120 อีกด้านครับ พันแกนให้พอประมาณเพื่อให้แน่ใจว่าฟิล์มจะไม่หลุดจากแกนระหว่างถ่ายอยู่ครับ และพอถ่ายหมด ต้องหาถุงมืด แกะตัวแมก แล้วค่อยๆ กรอฟิล์มกลับเข้ากลักเดิมครับ .. วิธีถ่ายไปเรื่อยๆเลยครับ เพราะถ้าเรากรอมาให้เริ่มที่ 1 ช่วงต้นม้วน จะไม่ถูกถ่ายครับ ผมถ่ายไปเรื่อยๆ จนพอหมดม้วน เราจะรู้สึกเองครับว่า กรอไปต่อไม่ได้ มันจะตึงๆ จากที่ลองใช้มาทั้ง 3back A12/A16 ถ้าเริ่มถ่ายเลย ไม่ตามตัวเลข จะไปจบที่ 12/16 เลยครับ โดยที่ถ้าใช้ฟิล์มแบบ36รูป ฟิล์มจะยังไม่หมดม้วน และเราหมุนต่อไม่ได้แล้ว แต่ถ้าใช้ฟิล์มแบบ24หรือ27รูป จะได้หมดม้วนพอดีสำหรับ back A12/A16 ส่วนตัว A24 ถ่ายไปเรื่อย ตั้งแต่ยังไม่ขึ้นเลข1 จนไป เริ่มเลข 1 และ มันจะไปหมดม้วนที่เลข24 ของตัว back พอดี ถ้าตอนช่วงพันแกนไม่พันเยอะไปนะครับ แต่ถ้าเราพันเยอะไปหน่อย แบบกลัวมันหลุดฟิล์มไม่เดิน ตัวเลขจะไปจบที่ราวๆ 16-17 ครับ และจะหมดม้วนพอดี อันนี้สำหรับฟิล์ม 36รูปครับ

ถ่ายติดหนามเตยสแกนกับเครื่อง Fuji Frontier SP-3000 จะใช้ mask สำหรับฟิล์ม120 แล้วรูปที่ได้จะมีขอบดำข้างๆ หรือ ถ้าถ่ายแนวนอน ก็จะมีขอบดำบนกับล่าง ซึ่งสามารถเอาไฟล์ไปcropต่อใน photoshopได้เองครับตอนหลังครับ ถ้าไม่ชอบให้มีขอบดำ แต่ถ้าสแกนแบบปกติ Fuji Frontier SP-500 / Noritsu LS600, HS1800 เครื่องสแกนจะทำการcropรูปออกครับ รูปที่สแกนติดรูหนามเตย อาจจจะแสงสีเพี้ยน นิดหน่อย เพราะแสงเครื่องสแกนได้รั่วสะท้อนเข้าที่ตัวฟิล์มตอนสแกนทั้งบนและล่างของตัวฟิล์มครับ