Redscale Photography เทคนิคการถ่ายภาพกลับด้านฟิล์ม Redscale เป็นเทคนิคในการถ่ายภาพฟิล์มด้วยด้านที่ “กลับด้าน” จากด้านเดิม ทำให้ภาพแบคกราวน์ของฟิล์มกลับมากลายเป็นสีแดง เทคนิคนี้เป็นการทำการทดลอง (experimental) รูปแบบง่ายๆ ที่ทำให้ได้โทนภาพแตกต่างจากฟิล์มทั่วไปอย่างสิ้นเชิง วิธีการสร้างฟิล์มม้วน redscale ทำได้ไม่ยาก โดยการนำฟิล์มกลักเปล่ามาโหลดฟิล์มคืนแบบกลับหัวกัน และม้วนฟิล์มเข้ากลักเปล่าเข้าถุงมืด และทำการตัดฟิล์มออกจากกลักเดิมนั้นทิ้ง ฟิล์มที่จะถ่ายเป็น redscale จะมีความไวต่อแสงน้อยไปอยู่บ้างเนื่องจากแบคกราวน์ใหม่จะมีสีแดงเข้มๆ ก็ให้ชดเชยแสง 1-2 สตอป ตัวอย่าง ฟิล์ม fuji xtra 400 redscale ให้ถ่ายที่ 200iso หรือ 100iso ครับ ถ้าอยากได้โทนภาพแปลกๆ ลองใช้วิธีแปลกๆ แบบ redscale จากความเห็นแล้ว สนุกกว่า ยังดูดีกว่าและหวังผลได้ง่ายกว่าเล่นฟิล์มหมดอายุครับ
Redscale เป็นเทคนิคการถ่ายภาพฟิล์มที่มีการเปิดรับแสงฟิล์มจากด้านที่ไม่ถูกต้อง “redscale” เกิดขึ้นเพราะมีการเปลี่ยนสีอย่างมากเป็นสีแดงเนื่องจากชั้นฟิล์มที่ไวต่อสีแดงถูกเปิดเผยก่อนแทนที่จะเป็นชั้นสุดท้าย
ฟิล์มสีRed Scale คือการกลับด้านฟิล์มจะช่วยทำให้ภาพถ่ายของคุณมีเฉดสีที่สะดุดตาไม่เหมือนใคร
ตัวอย่างจากฟิล์ม Lomography Redscale XR ISO 50–200 ถ่ายใน f stop ที่ต่างกัน วัดแสงค่าตรงกลางแล้วก็ถ่าย +1 , 0 และ -1
ซึ่งจากที่ทดลองการถ่ายฟิล์ม Red Scale แนะนำให้ถ่าย over 1-2 stop จะได้ภาพที่มีเฉดสี เริ่มตั้งแต่สีแดงเพลิง ไปจนถึงสีส้มที่สะดุดตา สีเหลืองที่ดูโดดเด่น รวมทั้งสีทองที่ดุจดั่งต้องมนตร์ คร่าวๆประมาณนี้ครับ