มาแชร์เทคนิคประสบการ์ณลูกเล่นแปลกๆกับกล้องฟิล์มครับ อันนี้เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของโบเก้ (Bokeh) ที่ปกติเวลาเราถ่ายรูปข้างหลังให้เบลอแล้วเป็นแสงข้างหลังจะเป็นวงกลมหรือหกเหลี่ยมแปดเหลี่ยมนั้น นั้นมันเกิดขึ้นจากรูรับแสงของเลนส์กล้องถ่ายรูปครับ แต่แผ่นโบเก้จะทำให้รูปร่างเปลี่ยนไป เช่นเป็นรูปดาว, รูปเกล็ดหิมะ, รูปตัวโน้ต ฯลฯ แค่เอาแผ่นโบเก้มาปิดที่หน้าเลนส์ แล้วเปิดรูรับแสง/ตั้งค่ารูรับแสงไว้ให้กว้างที่สุด เช่น f1.4 หรือต้องแล้วแต่เลนส์ ว่าขนาดหน้าเลนส์และเป็นช่วงเลนส์แบบเทเลซูม หน้าเลนส์กว้าง ก็สามารถเปิดรูรับแสงได้ที่ f5.6 ซึ่งก็ยังสามารถเปลี่ยนรูปร่างของตัวโบเก้ได้เหมือนกันครับ
เลนส์แนะนำสำหรับกล้อง DSLR / SLR 50mm ขึ้นไปครับ แต่รูรับแสงต้องเปิดที่ f1.4 หรือ f1.8 เท่านั้น f2.8 อาจจะยังไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างของตัวโบเก้ได้
ส่วนถ้าเป็นเลนส์ของ hasselblad กล้อง medium format เลนส์ที่แนะนำจะมี 110,120,150,250,350,500 ระยะ110ขึ้นไป 80/2.8 รูรับแสงกว้างที่สุดยังเล็กกว่ารูของแผ่นโบเก้ครับ
ตัวอย่างรูปจากกล้องฟิล์ม 120 Medium Format ครับ ฟิล์มที่ใช้เป็นฟิล์มหนัง Kodak Eastman Vision3 IMAX 500T/5219 ถ่ายด้วยเลนส์ช่วง 120mm [Carl Zeiss Planar 120mm Makro F4 CF T*] เปิดรูรับแสงที่ f4