ตอนเริ่มถ่ายฟิล์มใหม่ๆแบบยังไม่มีความรู้เท่าไหร่ ประมาณ2007 ตอนนั้นเอาตรงๆชอบทุกฟิล์ม ถ่ายได้หมดจะยี่ห้อไหน สีขาวดำ สไลด์ บูด ได้หมดจริงๆ เพราะชอบความเป็นธรรมชาติของแต่ละชนิด ที่สีโทน ไม่มีตายตัว ใครว่าฟูจิต้องอมเขียวเสมอไป อยู่ที่อุณหภูมิแสงของแต่ละทวีปหรือช่วงค่าแสงเวลาต่างๆ ยังไม่รวมถึงเลนส์ที่ใช้เป็นเลนส์แก้วธรรมดา เลนส์พลาสติก หรือเลนส์แก้วที่โค้ดติ้งเพิ่ม แล้วก็น้ำยาต่างๆ อีกมันไม่มีอะไรตายตัวจริงๆ แต่ตอนนี้ คือเจอฟิล์มที่ชอบจริงๆละ แบบต้องหาซื้อติดไว้ตลอดเลย สำหรับของ120 คือ Kodak Eastman ที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับถ่ายทำหนัง/ภาพยนต์ ที่ต้องใช้กล้องIMAXเท่านั้น เลยต่อไปขอเรียกสั้นว่า ฟิล์ม Kodak IMAX ละกันครับ ส่วนฟิล์มหนังที่เป็นขนาด 35mm (135) ส่วนตัวยังเฉยๆคือไม่ได้ชอบอะไรเท่าไหร่ครับ
ฟิล์มหนังจะมีทั้ง ฟิล์มสี ฟิล์มขาวดำ และ ฟิล์มสไลด์ แบบฟิล์มสีปกติเหมือนกันนะครับ แต่จะต่างตรงที่ ฟิล์มหนังที่เป็นขาวดำ หรือ สไลด์ จะไม่มีการเคลือบคาร์บอนเหมือนกันตัวฟิล์มสี ซึ่งฟิล์มหนังสไลด์หรือฟิล์มหนังขาวดำจะสามารถล้างรวมกับฟิล์มขาวดำ/ฟิล์มสไลด์ปกติได้เลยครับ แต่ก็ไม่ค่อยมีฟิล์มหนังขาวดำ/สไลด์ ออกมาโหลดขายให้เยอะเท่ากับฟิล์มหนังสีครับ
“ ความสนุกของกล้องฟิล์ม ไม่ใช่แค่โทนสี!! มันคือความคาดเดาได้ยากของภาพที่ออกมา ความสนุกที่ลบทิ้งไม่ได้ ไม่มีปุ่มdelete “
เหตุผลที่ชอบเพราะมันดูมีเอกลักษณ์เพิ่มกว่าฟิล์มปกติ สี/ขาวดำ/สไลด์ ของฟิล์ม 120 กว่าตรงที่มีรูหนามเตย เวลาสแกนก็จะเห็นรูหนามเตยหน่อยๆ ส่วนตัวมองว่าทำให้ดูมันเป็นฟิล์มเพิ่มขึ้นดี เพราะฟิล์ม120 คุณภาพค่อยข้างดี เรื่องความเนียนละเอียด ทำให้เวลาถ่ายถ้าไม่บอกบางทีก็ไม่รู้เลยว่าใช้ฟิล์มถ่าย นึกว่าใช้ดิจิตอลถ่ายแล้วใส่filter/plug-in/preset โทนสีฟิล์มแบบค่ากลางลงไป
แต่ฟิล์ม Kodak IMAX เองก็ยังมีส่วนที่ไม่ค่อยชอบตรงที่ น่าจะมียิงโค้ดบอกรหัสฟิล์มตรงขอบหน่อยก็ยังดี แบบว่าตัวนี้คือ 5203,5213,5207,5219 เคยมีอยู่ครั้ง ที่ตอนถ่ายฟิล์มของทาง Kodak IMAX มาแรกๆแล้วไม่จดไว้ แค่ใส่ซองแล้วเก็บใส่แฟ้ม เวลาผ่านไป ลืมเลย แยกไม่ออก อันไหน 50D อันไหน 250D คือ ระหว่าง T(Tungsten) D(Daylight) ยังพอแยกได้บ้างตอนสแกน แต่ iso grain อย่าง 500T 200T ก็ยังพอจะแยกได้บ้าง ถ้าชำนาญ แต่ 250D กับ 50D คือ บอกตามตรงแยกไม่ได้จริงๆ ไม่เชี่ยวชาญพอ เพราะ250D มันก็ละเอียด เนียนพอสมควร ไม่ค่อยมีgrain ให้เท่าไหร่ 500T ยังพอมีให้เห็นบ้างนิดหน่อย
***ขอแก้ไขและเพิ่มเติมนิดนึง พอดีพึ่งได้ข้อมูลครับ กราบขออภัย ข้อมูลใหม่พึ่งรู้มาว่า จริงๆตัวฟิล์มหนัง120ที่ใช้กับกล้องถ่ายหนังยี่ห้อ/รุ่น IMAX เลยเรียกฟิล์มหนัง120เรียกว่า ฟิล์มหนังIMAX ซึ่งจากที่เห็นรูปฟิล์มหนัง120 ที่ใช้ถ่ายนังจริงๆมาเหมือนตัวขนาดของฟิล์มจะเป็นขนาด 70MM แต่เนื่องด้วยกระดาษที่ใช้พันฟิล์มสี/ขาวดำและตัวฟิล์ม120 มันมีขนาดประมาณ 60-65MM เลยต้องมาตัดขอบให้ความกว้างมันลดลงเพื่อที่แสงจะได้ไม่รั่วโดนฟิล์มครับ และส่วนที่โดนตัดทิ้งไปก็เผอิญเป็นส่วนที่บอกชื่อโค้ดฟิล์มด้วยนั้นเองครับ ตัวอย่างฟิล์มถ่ายหนัง Kodak IMAX ที่ใช้ถ่ายหนังจริงๆ เช่น Batman ครับ สังเกตุขอบฟิล์มจากรูหนามเตยจะมีพื้นที่เพิ่มอีกหน่อย
กับอยากให้ทางค่าย Kodak ทำการผลิตฟิล์มหนังทั้งสีและขาวดำของ IMAX ออกมาเลยก็ดีครับ เพราะปัจจุบันที่มีซื้อขายและใช้ถ่ายภาพนิ่งกันอยู่ เป็นการที่ทางร้านหรือคนได้ไปขอซื้อหรือประมูลเศษฟิล์มที่เหลือจากการถ่ายหนังแล้วนำมารีโหลดเอง ซึ่งก็อาจจะมีปัญหาบ้างเช่นฟิล์มได้มเป็นรอยหรือมีแสงรั่วหรือโหลดมาความยาวไม่พอดี สั้นไปยาวไปครับ แต่ก็ไม่ได้ว่าหรือตำหนิคนโหลดนะครับ คือ เข้าใจตรงปัญหาตรงนี้ เพราะการโหลดฟิล์ม120 มันค่อนข้างยากกว่าฟิล์ม135เยอะมาก ซึ่งส่วนตัวเองก็ยังไม่สามารถที่จะโหลดฟิล์ม120ได้เองเลย ที่มีโหลดฟิล์มเองส่วนมากก็จะเป็นแค่ฟิล์ม135
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ชอบนะ ไม่ใช่ไม่ชอบ ก็แค่ทุกครั้งที่ถ่ายฟิล์มแล้วเอาไปล้างสแกนเสร็จ ก็จะรีบเอากลับมาใส่ซองใหม่แล้วเขียนระบุไว้เลยว่าฟิล์มตัวนี้ชนิดไหน รวมถึงใช้กล้องเลนส์ยี่ห้ออะไร วันที่ถ่ายด้วย
ข้อมูลคร่าวๆสำหรับฟิล์มหนังสี Kodak IMAX ปัจจุบันยังคงมีผลิตอยู่มาอยู่เรื่อยๆ เพราะวงการถ่ายภาพยนตร์ฮอลลีวูดยังคงมีผู้กำกับที่ใช้ฟิล์มถ่ายหนังอยู่ด้วย โดยรหัสปีผลิตล่าสุดจะเป็น Vision3 และจะมีISO ทั้งหมด4ระดับ คือ 50D,200T,250D,500T ครับ
ภาพตัวอย่างจากฟิล์มแต่ละชนิดครับ (สำหรับฟิล์มหนังขนาด 120) ก็พยามตอนสแกนจะไม่ปรับอะไรมาก และการล้างฟิล์มก็ล้างด้วยน้ำยาสูตรตรง คือ ECN-2 ครับ
Kodak Eastman IMAX 65MM Vision3 50D/5203
Kodak Eastman IMAX 65MM Vision3 200T/5213
Kodak Eastman IMAX 65MM Vision3 250D/5207
Kodak Eastman IMAX 65MM Vision3 500T/5219
Kodak Eastman Double-X [5222]
Kodak Eastman Double-X ปกติจะมีทำแค่2format ที่ขายอยู่ในท้องตลาดของการถ่ายหนัง เลขโค้ด ขึ้นด้วย5 จะเป็นฟิล์ม35mm [5222] เลขโค้ดขึ้นด้วย 7 จะเป็นฟิล์ม 16mm [7222]
Film : Kodak Eastman 5222 [Double-X] ISO 250 / 135 Format
Develop : D-96 [stock] 7min 20°C
Scan : Fuji Frontier SP-3000
Len : Carl Zeiss Planar 120mm Makro F4 CF T*
Body : Hasselblad 503CW
เป็นการเอาฟิล์มขนาด 35mm (135) มาถ่ายในกล้องMedium Format ที่ใช้ฟิล์มขนาด 120 ภาพที่ออกมาก็จะติดขอบฟิล์มและรูหนามเตยไปด้วยครับ
Film : Kodak Eastman 5222 [Double-X] ISO 250 / 135 Format
Develop : D-96 [stock] 7min 20°C
Scan : Fuji Frontier SP-3000
Len : Hasselblad Carl Zeiss 110mm f2 Planar T* FE
Body : Hasselblad 202FA
Kodak Eastman 65MM Double-X [250]
แน่นอนละฟิล์ม Double-X ที่มีขนาดประมาณ 65mm เป็นฟิล์มลิมิตเต็ดที่ทาง Kodak Eastman จับมือกับทาง IMAX ผลิตขึ้นมาให้กับผู้กำกับโนแลนโดยเฉพาะสำหรับการถ่ายทำหนังเรื่อง Oppenheimer [2023] และเศษฟิล์มที่เหลือจากการถ่ายหนัง ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ถ่ายทำหนังได้เนื่องจากความยาวอาจไม่พอ ได้ถูกนำมาประมูลและผู้ที่ประมูลได้ไป ก็ได้นำมาโหลดใส่ กลักฟิล์ม 120 Medium Format Camera และนำมาจำหน่ายให้กับคอคนรักกล้องฟิล์มที่ชื่นชอบฟิล์มขาวดำและกล้องMedium Format
Develop by Kodak D-76 [1+1] 10min 20°C
D-96 (Stock) 25min [Push 1600] 20°C
D-96 (Stock) 8min [Push 400] 20°C
ข้อมูลคร่าวๆเกี่ยวกับตัวฟิล์มหนังขาวดำ อย่าง Eastman Double X มีคร่าวๆประมาณนี้ครับ
Cr. ลิ้งค์ที่มาของข้อมูลแบบละเอียดครับ
- https://www.beartai.com/lifestyle/1284306?fbclid=IwAR0uvO17O38WTkXGscPYMzEA_GpmaUueWXpdJC0OsJMks03Hx-ZSVa4-Qe0
- https://movietriviath.wordpress.com/2022/12/14/christopher-nolan-revealed-oppenheimer-is-not-entirely-in-black-and-white/?fbclid=IwAR13BcKFdCV0agu6fqoGGs572LJQyOwaCzSqwacPiWVOKsUSPpDfx7tEv1g